วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการพัฒนาชาติไทย




ด้านการเมือง
สถาบันพระมหากษัตริย์ได้มีบทบาทเกี่ยวกับการเมืองการปกครองการรวมชาติ การสร้างเอกราช การวางรากฐานการเมืองการปกครอง การสร้างเสถียรภาพทางการเมืองการปกครอง การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินตั้งแต่อดีตสืบต่อมาตลอดปัจจุบันบทบาทของพระมหา กษัตริย์มีส่วนช่วยสร้างเอกภาพของประเทศเป็นอย่างมาก คนไทยทุกกลุ่มไม่ว่าศาสนาใดมีขนบธรรมเนียมแตกต่างกันอย่างไรก็มีความรู้สึก ร่วมในการมีพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน การเสด็จออกเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆ แม้ท้องถิ่นทุรกันดาร หรือมากด้วยภยันตรายอยู่ตลอดเวลา ทำให้ราษฎรมีขวัญและกำลังใจดี มีความรู้สึกผูกพันกับชาติว่ามิได้ถูกทอดทิ้ง พระราชกรณียกิจดังกล่าวของพระองค์มีส่วนช่วยในการปกครองเป็นอย่างมากพระ ราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์นั้นมีมาก และล้วนก่อประโยชน์ให้เกิดขึ้นต่อส่วนรวมทั้งสิ้น แม้การปฏิบัติพระราชกรณียกิจจะเป็นพระราชภาระอันหนัก แต่ก็ได้ทรงกระทำอย่างครบถ้วนสม่ำเสมอ จนกระทั่งสามารถที่จะผูกจิตใจของประชาชนให้เกิดความจงรักภักดี เพาะตระหนักถึงน้ำพระทัยของพระองค์ว่า ทรงเห็นแก่ประโยชน์สุขของส่วนรวมมากกว่าพระองค์เอง ทรงเสียสละยอมทุกข์ยากเพื่อบ้านเมืองอย่างแท้จริงดังพระราชปณิธานของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม




ด้านเศรษฐกิจ

การพัฒนาและการปฏิรูปที่สำคัญๆ ของชาติส่วนใหญ่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปูพื้นฐานประชาธิปไตย โดยการจัดตั้งกระทรวงต่างๆ ทรงส่งเสริมการศึกษาและเลิกทาส ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ทรงเกื้อหนุนวิทยาการสาขาต่างๆ ทรงสนับสนุนการศึกษาและศิลปวัฒนาธรรม ทรงริเริ่มกิจการอันเป็นการแก้ปัญหาหลักทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยจะเห็นว่าโครงการตามพระราชดำริส่วนใหญ่มุ่งแก้ปัญหาหลักทางเกษตรกรรม เพื่อชาวนา ชาวไร่ และประชาชนผู้ยากไร้และด้อยโอกาสอันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น โครงการฝนหลวง ชลประทาน พัฒนาที่ดิน พัฒนาชาวเขา เป็นต้น




ด้านสังคมและวัฒนธรรม


พระมหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขและความ เจริญแก่สังคม ได้ทรงริเริ่มโครงการต่างๆ ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พระราชดำริและโครงการที่ทรงริเริ่มมีมากซึ่งล้วนแต่เป็นรากฐานในการพัฒนา ชาติทั้งสิ้น โครงการของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่สำคัญ ได้แก่ โครงการอีสานเขียว โครงการฝนหลวง โครงการปลูกป่า โครงการขุดคลองระบายน้ำ โครงการปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดในเมืองใหญ่ โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ ทรงทำเป็นแบบอย่างที่ดีประชาชนและหน่วยราชการนำไปปฏิบัติก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางการพัฒนาชาติขึ้นมาก นอกจากนี้ทรงทำให้เกิดความคิดในการดำรงชีวิตแบบใหม่ เช่น การประกอบอาชีพ การใช้วิทยาการมาช่วยทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น




ด้านการต่างประเทศ

พระมหากษัตริย์ในอดีตได้ทรงดำเนินวิเทโศบายได้อย่างดีจนสามารถรักษาเอกราชไว้ ได้ โดยเฉพาะสมัยการล่าเมืองขึ้นในรัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันก็ทรงดำเนินการให้เกิดความ เข้าใจอันดี ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศต่างๆ กับประเทศไทย โดยเสด็จพระราชดำเนินเป็นทูตสันถวไมตรีกับประเทศต่างๆ ไม่น้อยกว่า 31 ประเทศ ทำให้นโยบายต่างประเทศดำเนินไปอย่างสะดวกและราบรื่น นอกจากนั้นยังทรงเป็นผู้แทนประเทศไทยต้อนรับประมุขประเทศ ผู้นำประเทศ เอกอัครราชทูต และทูตสันถวไมตรีจากต่างประเทศอีกด้วย




สถาบันพระมหากษัตริย์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาชาติไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังตัวอย่างที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้
1. การป้องกันและรักษาเอกราชของชาติ นับตั้งแต่อดีตพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะจอมทัพ เป็นผู้นำในการทำสงครามเพื่อป้องกันบ้านเมืองและขยายอำนาจ เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสระภาพจากพม่าและทำสงครามเพื่อสร้างความมั่นคงและขยายอำนาจของกรุงศรีอยุธยา หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงประกาศอิสรภาพจากพม่าและทำสงครามเพื่อสร้างความมั่นคงและขยายอำนาจของกรุงศรีอยุธยา หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นผู้นำขับไล่พม่าหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 และสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ทรงเป็นแม่ทัพสำคัญมาตั้งแต่สมัยธนบุรี ทรงทำสงครามกับพม่า สงครามครั้งใหญ่ คือ สงครามเก้าทัพ เมื่อ พ.ศ. 2328 แม่แต่ในสมัยที่ไทยเผชิญภัยคุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตก ทั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงเป็นผู้นำในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อรักษาเอกราชของชาติ โดยใช้นโยบายทางการทูตสร้างความสัมพันธ์กับราชสำนักต่างชาติเมื่อเผชิญกับความขัดแย้งกับชาติตะวันตก เช่น รัฐบาลไทยใช้การเจรจาทางการทูตทั้งการเจรจาในเมืองไทยและในฝรั่งเศส ในกรณี ร.ศ. 112 โดยขุนนางไทยและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเจรจากับฝรั่งด้วยพระองค์เอง เมื่อคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 พ.ศ. 2440 นอกจากนี้ทรงผูกมิตรกับรัสเซีย เพื่อให้รัสเซียช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยกับฝรั่งเศสอีกทางหนึ่ง และทรงยอมเสียดินแดนส่วนน้อยที่ไม่ใช่ดินแดนไทยเพื่อรักษาดินแดนส่วนใหญ่ไว้ หรือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 - 1918) และส่งทหารไทยไปยุโรปด้วย ทำให้ไทยได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมกับฝ่ายชนะสงคราม โดยได้ยกเลิกสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมที่เคยทำกับชาติตะวันตกไว้ในเวลาต่อมา

2. การสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยจัดว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาชาติไทยด้วยเช่นกัน โดยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1) ด้านประเพณีและพิธีสำคัญต่าง ๆ พระมหากษัตริย์ทรงมีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์พระราชพิธีและขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติไทยมาตั้งแต่อดีต ทั้งพระราชพิธีที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์โดยตรง เช่น พระราชพิธีราชาภิเษก พระราชพิธีของรัฐ เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และพระพระราชพิธีทางศาสนา เช่น พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ล้วนมีพระมหากษัตริย์ดป็นผู้นำในการปฏิบัติ 2) ด้านศาสนา พระมหากษัตริย์ไทยทุกยุคทุกสมัยเป็นองค์อุปถัมภ์และส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน การสังคายนาพระไตรปิฏก การแต่งวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1(ลิไทย) ทรงแต่งไตรภูมิพระร่วงหรือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสนับสนุนให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตร่วมกันแต่งหนังสือเรื่องมหาชาติคำหลวง นอกจากนี้ พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีขันติธรรมทางศาสนา ทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่ราษฎร และทรงสนับสนุนศาสนาอื่น ๆ เช่น พระราชทานที่ดินให้สร้างเป็นโบสถ์คริสต์และมัสยิดในศาสนาอิสลามทั้งในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ เป็นต้น

3) ด้านวัฒนธรรมการดำเนินชีวิต ในอดีตราชสำนักเป็นศูนย์กลางประเพณีและวัฒนธรรม ชาวบ้านจะเรียนแบบการประพฤติปฏิบัติของชาววัง เช่น การแต่งกาย อาหารนับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะการรับวัฒนธรรมแบบตะวันตก เช่น การใช้ช้อนส้อม การนั่งโต๊ะ เก้าอี้ การแต่งกายแบบตะวันตก ทำให้วัฒนธรรมแบบใหม่แพร่หลายไปสู่ประชาชน ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปลูกฝังเรื่องชาตินิยม ให้คนไทยมีความรักและจงรักภักดีต่อ "ชาติ ศาสน์ กษัตริย์" ซึ่งกลายเป็นคำขวัญมาจนถึงปัจจุบัน ทรงนำประเทศเข้าสู่สังคมนานาชาติในทางวัฒนธรรม โดยให้คนไทยมีนามสกุลเพื่อแสดงถึงความเป็นชาติที่มีอารยธรรม มีการใช้คำนำหน้าเด็ก สตรี บุรุษ ทรงเปลี่ยนการนับเวลาตามแบบสากล 24 นาฬิกา และทรงประดิษฐ์ธงชาติแบบใหม่ เรียกว่า "ธงไตรรงค์" ให้เหมือนกับธงที่ประเทศส่วนใหญ่ใช้กัน


4) ด้านศิลปกรรม แบ่งออกเป็น

4.1) ด้านวรรณกรรม พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทางการประพันธ์ เช่น รัชกาลที่ 1 ทรงพระราชนิพนธ์นิราศรบพม่าที่ท่าดินแดน บทละครเรื่องรามเกียรติ์ รัชกาลที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง เงาะป่า ไกลบ้าน รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมมากมาย เช่น เทศนาเสือป่า นิทานทองอิน ศกุนตลา มัทนะพาธา รวมทั้งทรงแปลบทละครของวิเลียม เชกสเปียร์ เช่น เวนิสวานิช โรมิโอและจูเลียต รวมทั้งรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ทรงแปลเรื่องนายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต (Tito) จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ เป็นต้น
4.2) ด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม ผลงานด้านสถาปัตยกรรมที่พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นมีอยู่มากมาย เช่น ในสมัยอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระปรางค์วัดพุทไธสวรรย์ ตามแบบศิลปะลพบุรี สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่ 3 องค์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย ส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น รัชสมัยที่ 1 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอันเป็นสมบัติของชาติมาถึงปัจจุบัน โดยโปรดให้ถ่ายแบบพระบรมมหาราชวังที่กรุงศรีอยุธยามาสร้าง เช่น พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท นอกจากนี้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมปราการเรียงรายไว้รอบพระนคร ป้อมที่เหลือมาถึงปัจจุบัน คือ ป้อมพระสุเมรุและป้อมมหากาฬ รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่ 3 องค์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย ส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอันเป็นสมบัติของชาติมาถึงปัจจุบัน โดยโปรดให้ถ่ายแบบพระบรมมหาราชวังที่กรุงศรีอยุธยามาสร้าง เช่น พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท นอกจากนี้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมปราการเรียงรายไว้รอบพระนคร ป้อมที่เหลือมาถึงปัจจุบัน คือ ป้อมพระสุเมรุและป้อมมหากาฬ รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างสวนขวาขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเป็นที่ทรงพระสำราญและต้อนรับแขกเมือง ทรงแกะสลักบานประตูวิหารพระศรีศากยมุนีที่วัดสุทัศนเทพวราราม รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างโลหะปราสาทที่วัดราชนัดดาราม และโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างและซ่อมแซมพระราชวัง เช่น เปลี่ยนหลังคาพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทและเพิ่มการปิดทองเข้าไป รื้อประตูกำแพงวังเดิมเป็นประตูที่มียอดมณฑปเป็นไม้ เปลี่ยนเป็นประตูหอรบอย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมปราการเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งป้อมที่ตั้งอยู่ทางปากอ่าวไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตก จึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างตึกและพระที่นั่งทั้งแบบตะวันตก และประยุกต์ระหว่างศิลปะไทยกับตะวันตก เช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งวิมานเมฆ เป็นต้น

สำหรับงานประติมากรรมส่วนใหญ่จะโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระพุทธรูป เช่น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระศรีสรรเพชญ์ประดิษฐานไว้ในวิหารหลวง วัดพระศรีสรรเพชญ์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระพุทธธรรมิศราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม โดยทรงปั้นพระพักตร์ด้วยพระองค์เอง รัชกาลที่ 9 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระพุทธรูปบางประทานพร ภ.ป.ร. รวมทั้งทรงสร้างพระพิมพ์ส่วนพระองค์ คือ พระพิมพ์จิตรลดา เป็นต้น

ในด้านจิตรกรรม เช่น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้า ฯ ให้ช่างเขียนเขียนสมุดภาพไตรภูมิ เพื่อให้คนทั้งหลายประกอบความดีละเว้นความชั่ว รัชกาลที่ 3 ทรงให้การส่งเสริมช่างฝีมือทุกชาติ งานจิตรกรรมในรัชสมัยนี้จึงมีอยู่หลายแห่งที่มีการนำศิลปะจีนเข้ามาผสม เช่น ประตูพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยในพระราชวังบวรสถานมงคล (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) มีการประดับลวดลายที่แตกต่างไปจากเดิม คือ มีลายต้นไม้ ดอกไม้ นก แมลง และกิเลน ซึ่งเป็นสัตว์ในตำนานของจีนปรากฏอยู่ด้วย ขณะเดียวกันก็มีการเขียนสีทอง ซึ่งดัดแปลงมาจากจิตรกรรมของไทยมีความโดดเด่น รวมทั้งรัชกาลที่ 9 ทรงวาดภาพฝีพระหัตถ์ ซึ่งมีทั้งแบบเหมือนจริง (Realism) แบบเอกซ์เพรสชันนิซึม (Expressionism) และแบบนามธรรม (Abstractionism)

4.3 ด้านนาฏกรรมและการดนตรี นาฏกรรมของไทยเริ่มมีแบบแผนขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) โดยได้รับอิทธิพลมาจากละครหลวงของเขมรและโปรดให้มีการเล่นดึกดำบรรพ์ (ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นการแสดงโขน) จนกระทั่งถึงในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดการเล่นละครอย่างมาก จึงทรงส่งเสริมการละครจนมีความเจริญรุ่งเรือง ครั้นเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 การละครไทยเสื่อมโทรมลง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดเกล้า ฯ ให้นำพม่าใน พ.ศ. 2310 การละครไทยเสื่อมโทรมลง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดเกล้า ฯ ให้นำละครหญิงของเจ้านครเมื่อคราวเสด็จลงไปปราบชุมนุมเจ้านครเข้ามาเป็นครูฝึกร่วมกับพวกละครที่ทรงรวบรวมจากที่ต่าง ๆ ฝึกหัดเป็นละครหลวงขึ้นใหม่ ในสมัยรัตนโกสินทร์ นาฏกรรมได้รับการฟื้นฟูในสมัยรัชกาลที่ 1 และได้รับการส่งเสริมให้เจริญก้าวหน้า ในสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงฟื้นฟูท่ารำอย่างโบราณทั้งโขนและละคร และปรับปรุงท่ารำต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง ทรงส่งเสริมการละคร ซึ่งกลายเป็นต้นแบบทางการละาครที่สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน

ในด้านการดนตรี รัชกาลที่ 2 ทรงชำนาญการเล่นซอสามสาย ทรงใช้ซอที่พระราชทานนามว่า "ซอสายฟ้าฟาด" ประพันธ์เพลง "บุหลันลอยเลื่อน" หรือ บุหลันลอยฟ้า" ในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงประพันธ์เพลงราตรีประดับดาว และในสมัยรัชกาลที่ 9 ทรงประพันธ์เพลงพระราชนิพนธ์ไว้จำนวนมาก เช่น พรปีใหม่ ลมหนาว ใกล้รุ่ง สายฝน เป็นต้น กล่าวโดยสรุป ในประวัติศาสตร์ไทยมีประเด็นสำคัญหลายเรื่องที่น่าศึกษา เช่น ประเด็นเกี่ยวกับความเป็นมาของชนชาติไทย อาณาจักรโบราณในดินแดนไทยและอิทธิพลที่มีต่อสังคมไทย ปัจจัยที่มีผลต่อการสถาปนาอาณาจักรไทย สาเหตุและผลการปฏิรูป การปกครองบ้านเมือง การเลิกทาสและเลิกไพร่ การเสด็จประพาสยุโรปและหัวเมืองสมัยรัชกาลที่ 5 การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 บทบาทของสตรีไทย

นอกจากเนี้อง ตลอดประวัติศาสตร์ไทยจะเห็นได้ว่าไทยเป็นชนชาติที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำในการสร้างความมั่นคงทางการเมืองการปกครอง รวมทั้งการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พัฒนาการทางการเมืองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น















พัฒนาการทางการเมืองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น


รัชกาลที่ 1-3 (สมัยฟื้นฟูประเทศ พ.ศ.2325-2394)




รัชกาลที่ 1-3 (สมัยฟื้นฟูประเทศ พ.ศ.2325-2394)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.2325 และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีใหม่จากกรุงธนบุรีมายังฝั่งตะวันออก(ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา)และสร้างกรุงเทพฯ เป็นราชธานีขึ้น ณ ที่แห่งนี้ เหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงย้ายราชธานี
พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ มีวัดขนาบอยู่ทั้งสองด้าน คือ วัดอรุณราชวราราม(วัดแจ้ง)และวัดโมฬีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) จึงยากแก่การขยายพระราชวัง

ความไม่เหมาะสมด้านภูมิประเทศ เนื่องจากฝั่งตะวันตกหรือราชธานีเดิมเป็นท้องคุ้ง อาจถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังได้ง่าย แต่ฝั่งตะวันออก(กรุงเทพ)เป็นแหลมพื้นดินจะงอกอยู่เรื่อยๆ
ความไม่เหมาะสมในการขยายเมืองในอนาคต พื้นที่ฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มกว้างขวาง สามารถขยายตัวเมืองไปทางเหนือและตะวันออกได้ กรุงธนบุรีไม่เหมาะทางด้านทำเลที่ตั้งยุทธศาสตร์ กล่าวคือ มีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลาง เปรียบเสมือนเมืองอกแตก เมื่อใดข้าศึกยกทัพมาตามลำน้ำก็สามารถตีถึงใจกลางเมืองได้ง่าย
เมืองหลวงใหม่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บริเวณเมืองหลวงใหม่ เดิมเรียกว่า บางกอก หรือปัจจุบันคือกรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใหม่ของไทย สร้างขึ้นโดยเลียนแบบอยุธยา กำหนดพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนคือ
บริเวณพระบรมมหาราชวัง ประกอบด้วย วังหลวง วังหน้า วัดในพระบรมมหาราชวัง(วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)และรวมทั้งทุ่งพระสุเมรุท้องสนามหลวง บริเวณที่อยู่อาศัยภายในกำแพงเมือง อาณาเขตกำแพงเมือง ประตูเมือง และป้อมปราการสร้างขึ้นตามแนวคลองรอบกรุง ได้แก่ คลองบางลำภู และคลองโอ่งอ่าง
บริเวณที่อยู่อาศัยภายนอกกำแพงเมือง เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีบ้านเรือนราษฏรตั้งอยู่ด้านนอกของคลองรอบกรุง มีคลองขุดในรัชกาลที่ 1คือ คลองมหานาค
การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในสมัยรัชกาลที่ 1-3 พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ การจัดระเบียบการปกครองยังคงยึดถือตามแบบอย่างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีดังนี้
การปกครองส่วนกลาง มีเสนาบดีทำหน้าที่บริหารราชการ ได้แก่
สมุหกลาโหม มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ทั้งทหารและพลเรือน มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนา ใช้ตราคชสีห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง
สมุหนายก มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งกิจการทหารและพลเรือนเทียบเท่ากระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยาจักรี หรือเจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต ใช้ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง
เสนาบดีจตุสดมภ์ เป็นตำแหน่งรองลงมา ประกอบด้วย
-กรมเวียง หรือกรมเมือง เสนาบดี คือ พระยายมราช มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปในพระนคร
-กรมวัง เสนาบดี คือ พระยาธรรมา มีหน้าที่ดูแลพระราชวังและตั้งศาลชำระความ
-กรมคลังหรือกรมท่า เสนาบดี คือ พระยาราชภักดี, พระยาศรีพิพัฒน์ หรือพระยาพระคลังมีหน้าที่ด้านการเงิน การคลัง และการต่างประเทศ
-กรมนา เสนาบดี คือ พระยาพลเทพ มีหน้าที่ดูแลไร่นาหลวง และเก็บภาษีข้าว

การปกครองส่วนภูมิภาค หรือการปกครองหัวเมือง
หัวเมืองฝ่ายเหนือ (รวมทั้งหัวเมืองอีสาน)อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก หัวเมืองฝ่ายเหนือแบ่งฐานะตามระดับความสำคัญ ดังนี้
-หัวเมืองชั้นใน(หัวเมืองจัตวา) อยู่ไม่ห่างไกลจากราชธานี มีเจ้าเมือง หรือ "ผู้รั้ง"เป็นผู้ปกครอง
-หัวเมืองชั้นนอก(เมืองชั้นตรี โท เอก) มีขุนนางชั้นสูงหรือพระบรมวงศานุวงศ์เป็นผู้ปกครอง ได้แก่ เมืองพิษณุโลก นครสวรรค์ พิจิตร ฯลฯ
หัวเมืองฝ่ายใต้ อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหกลาโหม นับตั้งแต่เมืองเพชรบุรีลงไปจนถึงนครศรีธรรมราช ไชยา พังงา ถลาง และสงขลา เป็นต้น มีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นนอกทั้งสิ้น
หัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย เป็นหัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สาครบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ฯลฯ อยู่ในความรับผิดชอบของพระคลังหรือกรมท่า

การปกครองประเทศราช
ฐานะของประเทศราช คือ เมืองของชนต่างชาติต่างภาษา มีกษัตริย์ของตนเองเป็นผู้ปกครอง มีหน้าที่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนดและส่งทหารมาช่วยเมื่อเมืองหลวงมีศึกสงคราม
ประเทศราชของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีทั้งดินแดนล้านนา ลาว เขมรและหัวเมืองมลายู ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงแสน หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ เขมร ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน ฯลฯ
การปรับปรุงกฏหมายและการศาล
กฏหมายตราสามดวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯให้รวบรวมและชำระกฏหมายเก่าที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และคัดลอกไว้ 3 ฉบับ ทุกฉบับประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และตราบัวแก้ว จึงเรียกว่ากฏหมายตราสามดวง
กฏหมายตราสามดวง หรือประมวลกฏหมายรัชกาลที่ 1 ใช้เป็นหลักปกครองประเทศมาจนถึงรัชกาลที่ 5 ก่อนที่จะมีการปฏิรูปกฏหมายไทยและการศาลให้เป็นระบบสากล


การเมืองการปกครองยุคปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก





การรับอารยธรรมตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 4
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 4ทรงมีโอกาสได้ศึกษาความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ของประเทศตะวันตก ตั้งแต่ในครั้งที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ โดยเฉพาะการศึกษา ภาษาละติน และภาษาอังกฤษ อีกทั้งมีโอกาสได้คุ้นเคยกับพ่อค้าชาวตะวันตก จึงทำให้ทรงทราบสถานการณ์ของโลกในขณะนั้นเป็นอย่างดี
แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เกี่ยวกับสถานการณ์ของโลกในขณะนั้น สรุปได้ 2 ประการ คือ
ความเจริญก้าวหน้าในความรู้และวิทยาการของโลกตะวันตก เป็นสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับบ้านเมือง จึงสมควรที่คนไทยจะได้เรียนรู้ไว้
การเผชิญหน้ากับภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยม ประเทศมหาอำนาจตะวันตกกำลังแผ่ขยายอิทธิพลเข้ารุกรานในอินเดีย จีน และพม่าสมควรที่ไทยต้องเร่งรีบปรับปรุงประเทศให้เข้มแข็งและเจริญก้าวหน้า เพื่อป้องกันมิให้ถูกบีบบังคับหรือข่มเหงเหมือนประเทศอื่นๆ





นโยบายของไทยที่มีต่อลัทธิจักรวรรดินิยม

ลัทธิจักรวรรดินิยม คือ การล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก มักจะเริ่มต้นด้วยการติดต่อเข้ามาค้าขายก่อน ต่อมาจึงอ้างความไม่เป็นธรรมที่ได้รับ หรือความล้าหลังด้อยพัฒนาความเจริญของประเทศนั้นๆ และใช้กำลังเข้าควบคุมหรือยึดครองเป็นอาณานิคมในที่สุด การใช้กำลังเข้าต่อสู้มีแต่จะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากยิ่งขึ้น ดังนั้น รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 จึงทรงใช้พระบรมราโชบายเพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติ ดังนี้
การผ่อนหนักเป็นเบาหมายถึง การโอนอ่อนผ่อนตามให้ชาติมหาอำนาจเป็นบางเรื่อง คือการยอมทำสัญญาเสียเปรียบ จะเห็นได้จากการทำสนธิสัญญาเบาริง ระหว่างไทยกับอังกฤษ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่มาก
การยอมเสียดินแดน สมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ไทยเสียดินแดนให้แก่อังกฤษและฝรั่งเศส ตามนโยบายเสียส่วนน้อย เพื่อรักษาส่วนใหญ่
การปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัย เพือมิให้มหาอำนาจตะวันตกใช้เงื่อนไขความล้าหลังด้อยพัฒนาของไทย เป็นข้ออ้างใช้กำลังเข้ายึดเป็นเมืองขึ้น และนำความเจริญมาสู่ชาวพื้นเมืองอาณานิคม เหมือนดังที่ทำกับทวีปแอฟริกา การปฏิรูปความเจริญของบ้านเมืองครั้งสำคัญเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งด้านการปกครอง กฏหมาย การทหาร ฯลฯ
การเจริญไมตรีกับประเทศมหาอำนาจยุโรป รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศมหาอำนาจตะวันตก ช่วยถ่วงดุลอำนาจมิให้ชาติใดชาติหนึ่งมาข่มเหงบีบคั้นไทย จึงเป็นวิธีการรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติอีกทางหนึ่ง
การพัฒนาทางการเมืองในสมัยรัชกาลที่ 5
รัชกาลที่ 5ทรงจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเพื่อช่วยในการบริหารราชการแผ่นดินในปี 2417 ดังต่อไปนี้
การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินจำนวน 12 คน ทำหน้าที่ถวายคำปรึกษาข้อราชการแผ่นดินแด่พระมหากษัตริย์
การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ประกอบด้วยสมาชิก 99 คน ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในพระองค์
ในปี พ.ศ.2427(ร.ศ.103) ได้มีเจ้านายและขุนนางข้าราชการกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตก ได้เสนอคำกราบบังคมทูลความเห็นเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชี้ให้เห็นว่าการจะรักษาเอกราชของชาติได้นั้น จะต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศให้เป็นแบบพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นด้วย แต่ควรดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยจะต้องทำการปฏิรูปการปกครองเสียก่อน ดังนั้นในปี พ.ศ.2430 พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์โรปการเสด็จไปศึกษาและดูงานเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะเสนาบดีตามแบบยุโรปที่ประเทศอังกฤษและหลังจากนั้นไม่นานก็มีการปฏิรูปการปกครองขึ้นในประเทศไทย

การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5
การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศจัดตั้ง "เสนาบดีสภา"และจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่12 กระทรวง ได้แก่ กลาโหม, นครบาล, วัง, เกษตรพานิชการ, พระคลัง, การต่างประเทศ, ยุทธนาธิการ, โยธาธิการ, ธรรมการ, ยุติธรรม ,มุรธาธิการ และมหาดไทย แทนจตุสดมภ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2435 หลังจากนั้นในวันที่ 1 เมษายน 2435 ทรงยุบกระทรวงที่ซ้ำซ้อนกันอยู่ทำให้เหลือกระทรวงเพียง 10 กระทรวง คือ มหาดไทย กลาโหม นครบาล วัง ต่างประเทศ พระคลังมหาสมบัติ โยธาธิการ ยุติธรรม ธรรมการ เกษตราธิการ
การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดการรวบรวมหัวเมืองตามชายแดนต่างๆ ขึ้นเป็นเขตการปกครอง เรียกว่า "มณฑล"โดยมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองและขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกได้ดังนี้
1. การปกครองแบบเทศาภิบาล หลักการปกครองแบบนี้คือ รัฐบาลจะทำการปกครองหัวเมืองตั้งแต่ชั้นต่ำสุดถึงสูงสุด โดยเริ่มต้นจากพลเมืองเลือกผู้ใหญ่บ้าน และผู้ใหญ่บ้าน 10 หมู่บ้านมีสิทธิเลือกกำนันของตำบล ตำบลหลายๆ ตำบลมีพลเมืองประมาณ 10,000 คนรวมกันเป็นอำเภอ หลายอำเภอรวมกันเป็นเมือง และหลายเมืองรวมเป็นมณฑลโดยมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ดูแล

2. การปกครองท้องที่ ในพ.ศ.2440 รัชกาลที่ 5 ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ สำหรับการจัดการปกครองระดับอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน
3. การปกครองส่วนท้องถิ่น ทรงริเริ่มจัดการ "สุขาภิบาล"ในเขตกรุงเทพ และตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อทดลองให้ประชาชนรู้จักการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น


ผลของการปฏิรูปการเมืองการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5

ก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในราชอาณาจักร เป็นผลจากการปกครองส่วนภูมิภาคในรูปมณฑลเทศาภิบาล โดยมีศูนย์รวมอยู่ที่กรุงเทพ
รัฐบาลไทยที่กรุงเทพฯ สามารถขยายอำนาจเข้าควบคุมพื้นที่ภายในพระราชอาณาจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทำให้กลุ่มผู้สูญเสียผลประโยชน์จากการปฏิรูปการปกครองพากันก่อปฏิกิริยาต่อต้านรัฐบาล ดังจะเห็นได้จากกบฏผู้มีบุญทางภาคอีสาน ร.ศ.121 กบฏเงื้ยวเมืองแพร่ ร.ศ.121 และกบฏแขกเจ็ดหัวเมือง แต่รัฐบาลก็สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้




การปฏิรูปการยุติธรรมและการศาล

· ในพ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยายามริเริ่มปฏิรูปการศาลให้ดีขึ้น โดยการจัดตั้งศาลรับสั่งขึ้นตรงต่อพระองค์ เพื่อพิจารณาคดีความที่อยู่ในกรมพระนครบาล มหาดไทย กรมท่า เมื่อ รัชกาลที่ 5 ทรงรวมอำนาจศาลไปขึ้นกับส่วนกลาง ทำให้ค่าธรรมเนียมและรายได้ที่ขุนนางเคยได้ลดลง และไม่เปิดโอกาสให้ใช้อำนาจทางศาลในทางที่ผิดได้อีกต่อไป นอกจากนี้ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมในพ.ศ.2435 ด้วยเพื่อพิจารณาคดีอาญาและคดีแพ่งตามแบบตะวันตก โดยมอบหมายให้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ซึ่งสำเร็จวิชากฏหมายจากประเทศอังกฤษเป็นผู้ดำเนินการ


การปฏิรูปการเมืองการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 6


· การเกิดกบฏ "ร.ศ.130" ในปี พ.ศ.2454 (ร.ศ.130) ซึ่งประกอบด้วยนายทหารและพลเรือน ซึ่งเรียกตัวเองว่า คณะพรรค ร.ศ.130 ต่อมาเรียกว่า ร.ศ.130 โดยมี ร.อ.เหล็ง ศรีจันทร์ (ขุนทวยหาญพิทักษ์) เป็นหัวหน้า สาเหตุสำคัญของกลุ่มกบฏนี้ คือ ต้องการให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้าโดยเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นแบบประชาธิปไตย โดยกฏหมายรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศ แต่ต้องประสบกับความล้มเหลวในที่สุด
· การจัดตั้งดุสิตธานี เมืองจำลองประชาธิปไตย หลังเกิดกบฏ ร.ศ.130 รัชกาลที่ 6 ได้ตั้งเมืองจำลองประชาธิปไตยขึ้นชื่อว่าดุสิตธานี การปกครองในเมืองดุสิตธานีก็ดำเนินรอยตามแบบประชาธิปไตย คือ มีการเลือกตั้ง "นครภิบาล" ซึ่งเปรียบได้กับ "นายกเทศมนตรี"นคราภิบาลจะต้องได้รับการเลือกตั้งจากเชษฐบุรุษมาก่อน เชษฐบุรุษ เปรียบได้กับ สมาชิกเทศบาล ซึ่งจะต้องได้รับการเลือกจาก "ทวยนาคร" หรือปวงประชานั้นเอง

การปฏิรูปการปกครองในส่วนกลาง



· พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดตั้งกระทรวงใหม่ คือ กระทรวงมุรธาธร กระทรวงทหารเรือ กระทรวงพาณิชย์และทรงยุบกระทรวงนครบาล และเปลี่ยนชื่อกระทรวงโยธาธิการเป็นกระทรวงคมนาคม ส่วนอำนาจหน้าที่ของกระทรวงต่างๆ ยังคงเหมือนกับสมัยรัชกาลที่ 5

การปรับปรุงการปกครองในส่วนภูมิภาค

· พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดตั้งมณฑลเพิ่มขึ้น คือ มณฑลร้อยเอ็ด ซึ่งมี 3 หัวเมือง ได้แก่ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และกาฬสินธ์ และเพื่อเป็นการประหยัด พระองค์ได้รวมมณฑล2-3มณฑลรวมกันเป็นภาค เรียกว่า "มณฑลภาค" เพื่อแบ่งเบาภาระของกระทรวง โดยให้ข้าราชการชั้นสูงเป็นอุปราชประจำมณฑลภาค งานใดที่มณฑลภาคสามารถจัดการได้ก็ไม่ต้องส่งถึงกระทรวง


การปรับปรุงการเมืองการปกครองสมัยรัชกาลที่ 7


· ทรงแต่งตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เพื่อเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
· โปรดเกล้าฯให้อภิรัฐมนตรีสภา ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้ง "สภากรรมการองคมนตรี" เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือขอราชการซึ่งพระราชทานลงมาให้ศึกษา และที่พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ปรึกษา
· ทรงจัดตั้งเสนาบดีสภา เพื่อเตรียมคนให้รับผิดชอบร่วมกันทั้งคณะให้เหมือนคณะรัฐมนตรีแบบตะวันตก เช่นเดียวกับเสนาบดีสภาในสมัย ร.5
· ทรงมอบหมายให้อภิรัฐมนตรีสภาวางรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปเทศบาล
· พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีวิสารวาจา และนายเรย์มอนด์ บี.สตีเวนส์ คิดร่าง "รัฐธรรมนูญ" ตามพระราชดำริ แต่ขณะเดียวกันแนวพระราชดำริของรัชกาลที่ 7 ที่เตรียมการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อพระราชทานต่อปวงชนชาวไทยนั้น ได้รับการคัดค้านจากอภิรัฐมนตรีสภา เพราะเกรงว่าประชาชนยังไม่พร้อม จึงทำให้การเตรียมการต้องชะงักลง เป็นผลให้คณะราษฏรเป็นผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองในที่สุด





การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยกลุ่มคณะราษฏรในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งคณะราษฏรได้ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สำเร็จ และคณะราษฏรก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษจากพระราชกำหนดนิรโทษกรรมครั้งนี้ โดยความเป็นจริงแล้ว ถ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงใช้พระราชอำนาจที่มีอยู่ในการสั่งปราบปรามคณะราษฏรในข้อหากบฏก็คงจะทรงทำได้ เพราะทหารในส่วนหัวเมืองที่ยังจงรักภักดีกับพระองค์ก็มีอยู่ไม่น้อย แต่เนื่องจากพระองค์เองทรงมีพระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทยอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าอภิรัฐมนตรีสภาทัดทานอยู่ พระองค์จึงต้องรอโอกาสอันสมควร แต่เมื่อคณะราษฏรได้ชิงลงมือก่อการปฏิวัติก่อนก็สอดคล้องกับพระราชดำริ

เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงนี้มีประเด็นที่น่าศึกษาดังนี้
1.จุดมุ่งหมายและอุดมการณ์ของคณะราษฏร คือ ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นประชาธิปไตย โดยยึดถืออุดมการณ์ 6 ประการ คือ
· จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย
· จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ
· จะบำรุงความสุขสบายสมบูรณ์ของราษฏรในทางเศรษฐกิจ
· จะต้องให้ราษฏรมีสิทธิเสมอกัน
· จะต้องให้ราษฏรมีเสรีภาพ โดยไม่ขัดกับหลัก 4 ประการข้างต้น
· จะต้องให้การศึกษาแก่ราษฏรอย่างเต็มที่
2. สาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
· การปฏิรูปการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งส่งผลให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกจากประเทศตะวันตก กลายเป็นผู้นำสมัยใหม่ และรับแนวคิดแบบประชาธิปไตยมาเป็นแบบอย่างในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชให้เป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
· จิตสำนึกของคนรุ่นใหม่และอิทธิพลของสื่อมวลชนที่มีลักษณะก้าวหน้าในสมัยนั้น ในช่วง เวลาก่อนหน้าการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดแบบประชาธิปไตยได้มีความตื่นตัว และอยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งบรรดาสื่อมวลชนต่างๆ ก็พากันแสดงความคิดเห็น และเสนอข้อเขียนสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแพร่หลาย
· ฐานะทางการคลังของประเทศและการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ 7 การคลังของประเทศเริ่มตกต่ำลงในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 6 เพราะสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศเกิดตกต่ำลง ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงพยายามตัดทอนรายจ่ายทุกประเภทให้เหลือเท่าที่จำเป็น มีการปรับปรุงระบบภาษีให้รัดกุม เพื่อจะได้เก็บภาษีให้มากขึ้น และใช้วิธีการปลดข้าราชการออกเป็นจำนวนมาก เพื่อลดรายจ่ายของรัฐบาลให้น้อยลง ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจทั่วโลกก็กำลังตกต่ำลง จึงส่งผลกระทบต่อประเทศไทยจนรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้บรรลุผลได้ จึงเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฏรใน พ.ศ.2475
3. องค์ประกอบคณะราษฏร ประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนจำนวน 99 คน โดยมีบุคคลสำคัญดังนี้
· พ.อ.พระยาพลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฏร
· พ.อ.พระยาทรงสุรเดช
· พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์
· พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ
· พ.ต.หลวงพิบูลสงคราม
· พ.ต.หลวงทัศนัยนิยมศึก
· น.ต.หลวงสิทธุ์สงครามชัย
· น.ต.หลวงศุภชลาศัย
· หลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงศ์) หัวหน้าฝ่ายพลเรือน
· นายจรูญ สืบแสง
· นายควง อภัยวงศ์
4. การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามและการจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ
· คณะราษฏรได้นำพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ซึ่งนายปรีดี พนมยงค์ได้ร่างเตรียมไว้ขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และพระองค์ได้ทรงพระราชทานกลับคืนมาในวันที่ 27 มิถุนายน 2475 และได้เปิดสภาผู้แทนราษฏรเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว"
· สาระสำคัญของพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว กำหนดไว้ว่า อำนาจสูงสุดในแผ่นดิน ประกอบด้วยอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ ซึ่งแต่เดิมเป็นของพระมหากษัตริย์ได้เปลี่ยนมาเป็นของปวงชนชาวไทยตามหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยรัฐธรรมนูญได้บัญญัติถึงตำแหน่งบริหารที่สำคัญคือ ประธานคณะกรรมการคณะราษฏร คือ นายกรัฐมนตรี ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่ประสานความเข้าใจระหว่างคณะราฏษรกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อความราบรื่นในการบริหารประเทศ ซึ่ง พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นผู้ได้รับเสียงสนับสนุนจากสภาผู้แทนราษฏรให้เป็นประธานคณะกรรมการคณะราษฏร
5.การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร
· หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้ว สภาผู้แทนราษฏรได้แต่งตั้งอนุกรรมการคณะหนึ่ง เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรสำหรับเป็นหลักการปกครองประเทศต่อไป ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 โดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรี ทางด้านคณะราษฏรได้ส่งบุคคลระดับหัวหน้าฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนเข้าร่วมรัฐบาล โดยมี พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นผู้คุมเสียงข้างมากอยู่ในคณะรัฐมนตรี ดังนั้น รัฐบาลชุดนี้จึงเรียกได้ว่าเป็น "รัฐบาลของคณะราษฏร"ซึ่งเป็นสมาคมการเมืองเดียวในขณะนั้น







การเมืองช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง-สงครามโลกครั้งที่ 2

มีเหตุการณ์สำคัญและน่าสนใจในช่วงนี้มีดังต่อไปนี้
ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอำนาจเก่าและกลุ่มอำนาจใหม่(คณะราษฏร) และความขัดแย้งภายในกลุ่มใหม่
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 แล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 โดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้สภาผู้แทนราษฏรประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากราษฏรเป็นผู้เลือก และสมาชิกที่มาจากพระมหากษัตริย์แต่งตั้ง นับเป็นครั้งแรกที่ได้เปิดโอกาสให้ราษฏรไทยได้มีสิทธิเลือกผู้แทนของตนไปทำหน้าที่นิติบัญญัติและควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล
พระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรี บริหารประเทศตามรัฐธรรมนูญฉบับถาวร พ.ศ.2475 ไปได้เพียง 2-3 เดือนก็ได้เกิดความขัดแย้งในหมู่คณรัฐมนตรี และคณะราษฏรด้วยเรื่อง การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีความคิดเห็นแตกต่างกัน ความขัดแย้งถึงขั้นรุนแรงจนนำไปสู่การประกาศพระราชกฤษฏีกาปิดสภาผู้แทนราษฏร
หลังจากปิดสภาผู้แทนราษฏรได้ประมาณ 2 เดือน พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าคณะทหารกลุ่มหนึ่งได้ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา หลังจากนั้นพันเอกพระยาพหลฯ ได้จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ โดยพันเอกพระยาพหลฯ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คณะรัฐบาลชุดนี้จึงเป็นคณะรัฐบาลที่ประกอบด้วยบุคคลสำคัญของคณะราษฏร ซึ่งเป็นกลุ่มยึดอำนาจเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 นั้นเอง
การบริหารประเทศภายใต้การนำของพระยาพหลฯ ไม่เป็นที่พอใจของกลุ่มนายทหารรุ่นเก่า กลุ่มขุนนางและกลุ่มเชื้อพระวงศ์บางท่านซึ่งสูญเสียอำนาจจากการปฏิวัติ พ.ศ.2475 โดยกล่าวหาว่าพระยาพหลฯ มีแผนการจะนำเอาลัทธิสังคมนิยมมาในใช้ในประเทศไทยซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
รัฐบาลของพระยาพหลฯ ปฏิเสธที่จะเจรจากับฝ่ายกบฏ โดยอ้างว่ารัฐบาลทำถูกต้องแล้วและได้รวบรวมกำลังทหารจากกรุงฌทพฯเข้าปราบกบฏ ฝ่ายรัฐบาลมีกำลังและความพร้อมเหนือกว่าฝ่ายกบฏ สามารถรุกเข้าโจมตีฝ่ายกบฏ เกิดการสู่รบกันอย่างรุนแรงบริเวณดอนเมือง หลังจากสู้กันได้เพียง 3 วัน ฝ่ายกบฏแตกพ่ายต้องถอยกลับภาคอีสาน หัวหน้ากบฏ คือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดชต้องเสด็จหนีลี้ภัยไปอยู่ที่อินโดจีน
หลังจากรัฐบาลปราบปรามกบฏได้สำเร็จแล้ว จึงได้จัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฏรขึ้นเป็นครั้งแรก ในปลายปี พ.ศ.2476 โดยมีจำนวน 78 คน รัฐบาลพระยาพหลฯ บริหารประเทศในลักษณะรวบอำนาจ มีการปราบปรามผู้ที่คัดค้านรัฐบาลถึงกับประกาศพระราชบัญญัติจัดการป้องกันรักษารัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลพิเศษเพื่อปราบปรามยุคคลที่ต่อค้านรัฐบาล นอกจากนั้นรัฐบาลยังไม่ยอมให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองอื่น ดังนั้นรัฐบาลจึงเป็นพรรคการเมือง คณะราษฏรพรรคเดียวโดยไม่มีฝ่ายค้าน
การสละราชสมบัติ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ เพื่อรักษาพระเนตรได้ทรงมีพระราชบันทึกถึงรัฐบาล ทรงขอร้องให้รัฐบาลปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและให้สิทธิเสรีภาพแก่ราษฏรอย่างแท้จริง ไม่ปราบปรามและลงโทษผู้คัดค้านด้วยสุจริตใจ
เมื่อรัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติตามคำขอของพระองค์ได้ พระองค์จึงทรงประกาศสละราชสมบัติเมื่อ วันที่ 2 มีนาคม 2477 ทรงอ้างเหตุผลแห่งการสละราชสมบัติว่า เป็นเพราะพระองค์ไม่สามารถช่วยเหลือและคุ้มครองประชาชนให้ได้รับสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญได้
เพราะหลังจากนั้นรัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระโอรสในสมบัติสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อมา
ความขัดแย้งในคณะราษฏร
รัฐบาลพระยาพหลฯบริหารประเทศในลักษณะที่ไม่ค่อยราบรื่น เนื่องจากถูกสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรโจมตีในเรื่องความไม่สุจริต และเกิดความขัดแย้งในคณะรัฐมนตรี ในที่สุดพระยาพหลฯ ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี บุคคลที่เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อมาคือ พันเอกหลวงพิบูลสงคราม เมื่อเดือน ธันวาคม 2481
รัฐบาลของหลวงพิบูลสงครามมีศัตรูทางการเมืองอยู่มาก จึงดำเนินนโยบายสร้างความมั่นคงของรัฐบาลโดยการกวาดล้างจับกุมกลุ่มที่ต่อต้าน ซึ่งมีทั้งนายทหารที่เคยร่วมก่อการยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์บางท่าน รัฐบาลถึงกับประกาศพระราชบัญญัติศาลพิเศษเพื่อตัดสินลงโทษผู้ที่ต่อต้านรัฐบาลอย่างรุนแรง บางคนถึงกับถูกประหารชีวิต บางคนก็ถูกจำคุก
การปลุกความคิดชาตินิยมและความพยายามสร้างชาติไทยให้ยิ่งใหญ่
ประเทศมหาอำนาจในขณะนั้นได้แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มประเทศประชาธิปไตยซึ่งมีอังกฤษ ฝรั่งเศส และกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกอื่นๆ กลุ่มนี้มีอาณานิคมและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจไปทั่วโลก กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการ ได้แก่ ประเทศเยอรมัน อิตาลี และญี่ปุ่น กลุ่มนี้มีอาณานิคมน้อยมากเมื่อเทียบกับกลุ่มแรก และยังถูกกลุ่มแรกขัดขวางกีดกันผลประโยชน์ทางการค้าไปทั่วโลก ทั้ง 2 กลุ่มจึงต่อสู้แข่งขันกัน โดยเฉพาะในเรื่องกำลังอาวุธ ทำให้สถานการณ์โลกเริ่มตึงเครียด กลุ่มที่ 2 เน้นนโยบายของชาติในเรื่องชาตินิยม มีการปลุกใจให้ประชาชนรักชาติอย่างรุนแรง ให้เชื่อมั่นในลัทธิทหารนิยม ปลุกใจประชาชนให้เกิดฮึกเหิมพร้อมที่จะทำสงคราม พร้อมทั้งชักชวนประเทศเล็กๆ ให้เสื่อมใสในหลักการของตน
การปลุกความคิดชาตินิยม
รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้ดำเนินนโยบายในลักษณะเผด็จการอยู่แล้ว จึงเอนเอียงไปทางกลุ่มที่ 2 ประกอบกับขณะนั้น ขบวนการกู้ชาติในประเทศต่างๆ ในทวีปเอเซียจึงเอนเอียงไปทางกลุ่มที่ 2 เป็นเวลาเดียวกับที่ขบวนการกู้ชาติในประเทศต่างๆในทวีปเอเซียปลุกเร้าประชาชนของตนให้ลุกขึ้นขับไล่มหาอำนาจตะวันตกที่เข้ามายึดครองเอเซียและให้คืนเอกราชให้แก่ประเทศของตน ญี่ปุ่นเห็นเป็นโอกาสในการโฆษณาลัทธิชาตินิยมจึงยุยงชาวเอเซียให้ร่วมมือกับญี่ปุ่นในการขับไล่ชาวผิวขาวให้ออกไปจากเอเซีย โดยมีคำขวัญว่า "เอเซียเพื่อเอเซีย"
พันเอกหลวงพิบูลสงครามซึ่งเป็นผู้ที่มีความคิดชาตินิยมอยู่แล้ว จึงดำเนินนโยบายสร้างชาติไทยให้เข็มแข็ง ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลของพันเอกหลวงพิบูลสงครามได้ประกาศนโยบายอย่างชัดแจ้งที่จะสร้างชาติให้ยิ่งใหญ่ด้วยวิธีการหลายๆ รูปแบบ ดังเช่น ก. ส่งเสริมการทำสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ผลิตเครื่องใช้ด้วยตนเอง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกษตรกรไทยมีรายได้และไม่ลืมอาชีพดั้งเดิมของตน ไม่ต้องหวังพึ่พาอาศัยสินค้าจากต่างชาติ ข. ชักจูงโฆษณาให้คนไทยใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ เพื่อที่เงินตราของชาติจะได้ไม่รั่วไหลออกนอกประเทศ เศรษฐกิจของชาติก็จะมั่นคง รัฐบาลประกาศคำขวัญไปทั่วประเทศว่า "ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ" ค. ส่งเสริมให้คนไทยประกอบอาชีพค้าขายและสงวนอาชีพบางอย่าง ห้ามคนต่างด้าวทำ เพื่อให้คนไทยเป็นผู้ประกอบอาชีพแต่ฝ่ายเดียว สาเหตุเนื่องจากว่าในขณะนั้นคนต่างด้าวทั้งชาวยุโรป ชาวจีน และชาวอินเดียได้เข้ามาประกอบธุรกิจค้าขายจนร่ำรวย ในขณะเดียวกันชาวไทยต้องทำงานหนักในท้องไร่ท้องนามีฐานะยากจน รัฐบาลกลัวว่าพวกต่างด้าวจะเข้ามาควบคุมเศรษฐกิจของประเทศ จึงออกกฏหมายห้ามขาวต่างชาติทำอาชีพบางอย่าง เช่น อาชีพตัดผม เผาถ่าน เป็นต้น ง. โฆษณาชักจูงให้ประชาชนละทิ้งนิสัย ความประพฤติ และวัฒนธรรมแบบโบราณซึ่งชาวตะวันตกมองว่าเป็นสิ่งที่ล้าหลัง และให้คนไทยดำรงชีวิตตามแบบอย่างชาวตะวันตก เพื่อให้ชาวไทยเชิดหน้าชูตาเสมอชาวตะวันตก รัฐบาลจึงใช้วิธีประกาศห้ามคนไทยกินหมาก สตรีต้องไว้ผมยาวและสวมหมวกเมื่อออกจากบ้าน เลิกโจงกระเบน ให้สวมกระโปรงหรือนุ่งผ้าถึงแทน ชายไทยต้องแต่งชุดสากลและสวมหมวกตามแบบตะวันตก ปรับปรุงการเขียนภาษาไทยเสียใหม่ให้กะทัดรัด ฯลฯ จ. แต่งเพลงปลุกใจชาวไทยให้รักชาติมากมายหลายเพลงและให้สถานีวิทยุทุกแห่งเปิดเพลงเหล่านี้บ่อยๆ ทุกวัน ฉ.ตั้งกรมโฆษณาการ เพื่อทำหน้าที่ปลุกใจประชาชน โฆษณาถึงความรักชาติให้เชื่อฟังผู้นำ โดยมีคำขวัญว่า "เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย" จะเห็นได้ว่า กรมโฆษณานี้นอกเหนือจากทำหน้าที่ปลุกใจประชาชนให้รักชาติแล้ว ยังชักจูงประชาชนให้เชื่อมั่นในตัวผู้นำและแนวนโยบายเผด็จการอีกด้วย
สงครามกับฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสได้ยึดดินแดนไทยไปมากมายโดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 อีกทั้งยังข่มเหงเอารัดเอาเปรียบคนไทยต่างๆ นานา ชาวไทยส่วนใหญ่ยังมีความเจ็บช้ำใจในเรื่องนี้อย่างไม่ลืม รัฐบาลหลวงพิบูลสงครามจึงพยายามโฆษณาตอกย้ำในสิ่งที่ฝรั่งเศสทำไว้อยู่ตลอดเวลา
ใน พ.ศ.2483 สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดขึ้นในยุโรป รัฐบาลไทยได้ประกาศนโยบายเป็นกลาง กองทัพเยอรมันรักเข้าโจมตีฝรั่งเศสอย่างรวดเร็ว ฝรั่งเศสพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ และประกาศยอมแพ้ต่อเยอรมันในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2483
รัฐบาลฝรั่งเศสที่จัดตั้งขึ้นใหม่ภายหลังจากการแพ้สงคราม หวั่นเกรงว่าไทยอาจใช้กำลังเข้ายึดดินแดนบางส่วนของอินโดจีน จึงขอเจรจากับไทยเพื่อทำสัญญาไม่รุกรานกัน รัฐบาลไทยยินดีเจรจา แต่ขอให้ฝรั่งเศสคืนดินแดนบางส่วนของประเทศลาวในปัจจุบัน ซึ่งฝรั่งเศสยึดไปจากไทยกลับคืนให้ไทยเสียก่อน ฝรั่งเศสไม่ยอมตกลง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเริ่มเสื่อมทุกที ฝ่ายไทยกล่าวหาฝรั่งเศสว่าส่งเครื่องบินและกำลังทหารล่วงล้ำเขตแดนไทยและยั่วยุให้ไทยทำสงคราม ในขณะเดียวกันประชาชนไทย นิสิต นักศึกษาในกรุงเทพได้เดินขบวนเรียกร้องให้รัฐบาลส่งทหารไปยึดดินแดนไทยกลับคืนมาจากฝรั่งเศส
ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2484 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยได้ประกาศสถานการณ์สงครามกับอินโดจีนของฝรั่งเศส และส่งกำลังทหารไทยรุกเข้าสู่อินโดจีน ยึดเมืองหลวงพระบาง จำปาศักดิ์ และอื่นๆ อีกหลายแห่ง
รัฐบาลญี่ปุ่นได้เสนอตัวเข้ามาไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส รัฐบาลไทยกับฝรั่งเศสยอมรับการไกล่เกลี่ย ในที่สุดทั้งสองฝ่ายได้ยุติสงครามกันในปลายเดือนกันยายน และเปิดประชุมเจรจากันที่กรุงโตเกียว นอกจากนั้นรัฐบาลได้สร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการเสียสละชีวิตเพื่อชาติของทหารไทยในสงครามอินโดจีนอีกด้วย



การเมืองการปกครองช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2


เหตุการณ์ที่สำคัญและน่าสนใจในช่วงนี้มีดังต่อไปนี้
การประกาศสถานการณ์ความเป็นกลางของไทยในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติขึ้นมายุโรปในปี พ.ศ.2482 รัฐบาลไทยได้ประกาศยืนยันนโยบายเป็นกลางอย่างเคร่งครัด ในขณะนั้นญี่ปุ่นได้วางแผนการที่จะเข้าสู่สงครามโลก โดยใช้กำลังทหารของตนเข้าขับไล่ประเทศตะวันตกทั้งหมดออกจากทวีปเอเซีย เมื่อฝรั่งเศส อังกฤษ ประสบความเพลี่ยงพล่ำในยุโรป ญี่ปุ่นก็เปิดฉากโจมตีฐานทัพเรือของสหรัฐ ที่อ่าวเพิร์ล ตอนเช้ามืดของวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2484 หรือตรงกับเช้ามืดของวันที่ 8 ธันวาคม ตามเวลาในประเทศไทยฐานทัพเรือของสหรัฐฯ ที่อ่าวเพิร์ลถูกทิ้งระเบิดเสียหายย่อยยับ พร้อมกันนั้นกองทัพญี่ปุ่นก็ยกพลขึ้นบกในดินแดนหลายแห่งในทวีปเอเซียรวมทั้งประเทศไทยด้วย
สำหรับประเทศไทย กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกบริเวณริ่มฝั่งทะเลไทยด้านตะวันออกไปจนถึงภาคใต้ ได้แก่ บางปู ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี รวมทั้งกองทัพญี่ปุ่นในอินโดจีนก็ได้รุกเข้าสู่จังหวัดพระตะบอง และจังหวัดพิบูลสงครามของไทยอีกด้วย
ในเกือบทุกแห่ง ทหาร ตำรวจ และยุวชนไทยได้เข้าต่อสู้ขัดขวางการรุกรานของญี่ปุ่นอย่างกล้าหาญสุดความสามารถ ญี่ปุ่นเรียกร้องให้ไทยยุติการต่อต้านและยินยอมให้ญี่ปุ่นยกทัพผ่านไทยเพื่อไปโจมตีมลายูและพม่า โดยญี่ปุ่นสัญญาว่าจะเคารพเอกราชและอธิปไตยของไทย รัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม (จอมพล ป. พิบูลสงคราม) เห็นว่า หากไทยยังสู้รบกับญี่ปุ่นต่อไป ประเทศไทยก็จะพินาศเพราะกำลังทหารและอาวุธของไทยไม่อาจต่อต้านญี่ปุ่นได้เลย ดังนั้นรัฐบาลจึงตกลงรับข้อเสนอของญี่ปุ่นและยุติการต่อต้านภายหลังจากที่ได้สู้รบกันนานประมาณ 4-5 ชั่วโมง
การประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตร
หลังจากที่ไทยยอมให้ญี่ปุ่นยกทัพผ่านประเทศไทยไปโจมตีประเทศเพื่อนบ้านนั้น ญี่ปุ่นพยายามเข้าแทรกแซงกิจการภายในของไทย พยายามที่จะบงการและบีบคั้นรัฐบาลไทยให้ปฏิบัติตามที่ญี่ปุ่นต้องการ ในขณะเดียวกันฝ่ายพันธมิตรก็ได้ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดตามจุดยุทธศาสตร์ในกรุงเทพและหัวเมืองสำคัญ ทหารไทยจำเป็นต้องยิงต่อสู้กับเครื่องบินฝ่ายพันธมิตร ในที่สุดรัฐบาลก็ได้ประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตร ซึ่งมีสหรัฐอเมริกาและอังกฤษเป็นผู้นำ เมื่อเดือน มกราคม พ.ศ.2485
นายปรีดี พนมยงศ์ หรือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ผู้หนึ่งในจำนวน 3 ท่าน ไม่เห็นด้วยกับการประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตรในครั้งนี้ จึงมิได้ลงนามในคำประกาศสงคราม คงมีแต่ผู้สำเร็จราชการอีก 2 ท่านเท่านั้นที่ได้ลงนาม
หลังจากนั้น ประเทศไทยก็ได้ตกอยู่ในสถานการณ์สงครามกับฝ่ายพันธมิตร และร่วมรบกับญี่ปุ่นอย่างเต็มตัว ญี่ปุ่นได้เอาใจไทยโดยกดินแดนที่ญี่ปุ่นตีมาได้กลับคืนไทย เพราะเคยเป็นดินแดนของไทยมาก่อน เช่น รัฐกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปะลิส (ปัจจุบันอยู่ในปรเทศมาเลเซีย) เมืองเซียงตุง เมืองพาน (ปัจจุบันอยู่ในประเทศพม่า) ในขณะเดียวกันญี่ปุ่นก็พยายามที่จะควบคุมรัฐบาลไทยให้ปฏิบัติไปตามที่ญี่ปุ่นต้องการ โดยเฉพาะในเรื่องผลประโยชน์ทางการเงิน การค้า และวัตถุดิบซึ่งญี่ปุ่นได้รับจากไทย
ขบวนการเสรีไทย
นายปรีดี พนมยงศ์ มีความเชื่อว่า ในสุดท้ายแล้วญี่ปุ่นต้องแพ้สงคราม หากไทยยังร่วมหัวจมท้ายกับญี่ปุ่น ไทยก็จะเป็นฝ่ายแพ้สงคราม อาจถึงขั้นพันธมิตรเข้ายึดครองประเทศไทยได้ ดังนั้น นายปรีดี พนมยงศ์ จึงจัดตั้ง ขบวนการเสรีไทย ใช้รหัสย่อว่า X.O.Group รวบรวมคนไทย ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นใด อาชีพใด ทั้งที่พำนักอยู่ในประเทศไทยหรือต่างประเทศ ซึ่งมีอุดมการณ์ตรงกัน คือ ความมุ่งหมายในการขับไล่ญี่ปุ่นให้ออกไปจากผืนแผ่นดินไทย โดยมีนายปรีดี พนมยงศ์เป็นหัวหน้าใหญ่ ในขณะเดียวกันท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อยู่ด้วย นับว่าเป็นโชคดีของประเทศไทยที่ญี่ปุ่นไม่รู้เลยว่า นายปรีดี พนมยงศ์ คือหัวหน้าใหญ่ของขบวนการเสรีไทย ต่อมาชายไทยทุกเพศทุกวัย ทุกอาชีพที่มีใจรักชาติต่างก็สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกของขบวนการเสรีไทย ซึ่งได้ขยายงานไปสู่ต่างจังหวัด บรรดาคนหนุ่มๆ ได้รับการฝึกในการใช้อาวุธและยุทธวิธีการสู้รบตามป่าตามเขา สหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้สนับสนุนขบวนการเสรีไทยอย่างลับๆ โดยจัดส่งอาวุธยุทธปัจจัยต่างๆ ตลอดจนครูฝึกทหารมาฝึกเสรีไทย จำนวนสมาชิกของขบวนการเสรีไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วพร้อมๆ กับขีดความสามารถในการรบ
ทางด้านเสรีไทยนอกประเทศ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชฑูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ประกาศไม่ยอมรับรู้และคัดค้านความร่วมมือระหว่างไทยกับญี่ปุ่น และการที่รัฐบาลไทยประกาศสงครามกับพันธมิตรนั้นเป็นเพราะญี่ปุ่นบีบบังคับ ประชาชนชาวไทยไม่เห็นด้วย โชคดีที่สหรัฐอเมริกาและอังกฤษเข้าใจไทยในเรื่องนี้ พร้อมทั้งสนับสนุนขบวนการเสรีไทยที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ เสรีไทยที่มีชื่อเสียงท่านนี้คือ นายป๋วย อึ้งภากรณ์ ได้ขึ้นเครื่องบินของฝ่ายพันธมิตรร่วมกับเสรีไทยนอกประเทศอีกหลายคนเข้าสู่ดินแดนไทยเพื่อร่วมมือกับเสรีไทยในประเทศ
สำหรับการบริหารประเทศของรัฐบาลในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากรัฐบาลประสบกับปัญหาที่ญี่ปุ่นพยายามบีบบังคับให้รัฐบาลยินยอมมอบผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่ญี่ปุ่นแล้ว รัฐบาลยังประสบปัญหาในเรื่องที่รัฐบาลประกาศพระราชกำหนดย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เพชรบูรณ์ และพระราชกำหนดสร้างพุทธบุรีมณฑล พ.ศ.2487 เพื่อจัดสร้างศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาที่สระบุรี ปรากฏว่า สภาผู้แทนราษฏรไม่เห็นชอบกับพระราชกำหนดทั้ง 2 ฉบับ รัฐบาลหลวงพิบูลสงครามหรือจอมพลแปลก พิบูลสงคราม จึงกราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่ง และนายควง อภัยวงศ์ ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน
ต่อมาในปี พ.ศ.2488 กำลังกองทัพของญี่ปุ่นร่อยหรอและอ่อนเปลี้ยพ่ายแพ้แก่ฝ่ายพันธมิตรทุกแนวรบ ในขณะนั้นกองกำลังเสรีไทยนับแสนคนพร้อมที่จะลงมือขับไล่กองทหารญี่ปุ่นให้ออกจากผืนแผ่นดินไทยแล้ว แต่บังเอิญสหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดปรมาณู 2 ลูก ลงสู่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนสิงหาคม 2488 ยังผลทำให้ประชาชนญี่ปุ่นบาดเจ็บล้มตายจำนวนมหาศาล ญี่ปุ่นจึงประกาศยอมแพ้ต่อสหรัฐอเมริกา สงครามโลกครั้งที่ 2 จึงยุติลง โดยที่เสรีไทยไม่ได้ลงมือขับไล่ญี่ปุ่นก็ยอมแพ้เสียก่อน




การเมืองการปกครองช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2- พ.ศ.2500



เหตุการณ์ที่สำคัญและน่าสนใจในช่วงนี้มีดังต่อไปนี้
การแก้ปัญหาเนื่องจากไทยอยู่ในฐานะผู้แพ้สงคราม สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ประเทศไทยตกอยู่ในฐานะที่น่าเป็นห่วง เพราะรัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามกับฝายสัมพันธมิตรในระหว่างสงคราม ซึ่งอาจจะทำให้ตกอยู่ในฐานะประเทศผู้แพ้สงครามก็ได้ ดังนั้นนโยบายของไทยที่จะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนก็คือ ทำอย่างไรจึงจะรอดพ้นจากฐานะผู้แพ้สงคราม เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2488 ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของไทยประกาศสันติภาพโดยถือว่าการประกาศสงครามของไทยต่อพันธมิตรในระหว่างสงครามนั้นเป็นโมฆะ และไทยพร้อมที่จะคืนดินแดนทีได้มาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้แก่อังกฤษและฝรั่งเศส หลังจากนั้น นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีก็ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลที่ฝ่ายพันธมิตรไว้วางใจเข้ารับตำแหน่งแทน นั่นก็คือ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าเสรีไทยนอกประเทศที่สหรัฐอเมริกาและอังกฤษยอมรับ
ในเดือนกันยายน 2488 ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี งานหลักของรัฐบาลชุดนี้ก็คือ การเจรจากับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษเพื่อความเป็นเอกราชของชาติ โชคดีที่สหรัฐและอังกฤษไม่ติดใจไทยหรือคิดจะลงโทษอันเนื่องจากการที่เราประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ่รัฐบาลไทยก็ได้ประกาศคืนดินแดนให้แก่อังกฤษและฝรั่งเศส พร้อมทั้งให้ความร่วมมืออื่นๆ หลายประการ นอกจากนั้นรัฐบาลไทยยังได้ประกาศบริจาคข้าวสารจำนวน 1.5 ล้านตัน ให้แก่อังกฤษ เพื่ออังกฤษจะได้นำไปช่วยเหลือประชาชนที่อดอยากตามประเทศต่างๆ ในที่สุดปัญหาที่น่าวิตกของไทยเราก็ค่อยๆ ผ่านพ้นไปด้วยดี ไทยเราสามารถดำรงเอกราชไว้ได้ในขณะที่ญี่ปุ่นถูกสหรัฐอเมริกาเข้ายึดครองและปกครองประเทศไปตามนโยบายของสหรัฐอเมริกา การที่สหรัฐอเมริกาและอังกฤษไม่คิดลงโทษ ก็เนื่องมาจากคุณงามความดีของขบวนการเสรีไทยนั้นเอง
ในเดือนมกราคม 2488 รัฐบาลได้จัดให้มีการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฏรกันใหม่ นับตั้งแต่นั้นมาการเมืองของไทยก็เริ่มเข้ารูปเข้ารอยตามระบอบรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับ 2489 เป็นรัฐธรรมนูญที่มีลักษณะรูปแบบเป็นประชาธิปไตยมากกว่าฉบับก่อนๆ อนุญาตให้จัดตั้งพรรคการเมืองต่างๆ ได้ ดังนั้นพรรคการเมืองรุ่นแรกๆ ที่ถือกำเนิดขึ้นในขณะนั้นได้แก่ พรรคสหชีพ พรรคแนวรัฐธรรมนูญ พรรคประชาธิปัตย์ (นายควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้า) พรรคกสิกร พรรคธรรมาธิปัตย์ พรรคก้าวหน้า พรรคประชาชน ฯลฯ พรรคต่างๆ ที่กล่าวนามมานี้มีอยู่พรรคเดียวที่ยังดำเนินงานทางการเมืองจนถึงปัจจุบัน คือ พรรคประชาธิปปัตย์
นายควง อภัยวงศ์ (พ.ต.ควง อภัยวงศ์) เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจาก ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช คือ แต่ดำรงตำแหน่งได้ไม่กี่เดือนก็ต้องลาออก เนื่องจากไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและภาวะเงินเฟ้ออย่างร้ายแรงอันเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 2
การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 และผลกระทบ
ในเดือนมีนาคม 2489 นายปรีดี พยมยงศ์ ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่นายปรีดี เข้าบริหารงานของประเทศได้ไม่ทันไรก็เกิดปัญหาร้ายแรงของประเทศ กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดลเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 เนื่องจากต้องอาวุธปืน รัฐบาลนายปรีดี ซึ่งได้ขอความเห็นชอบต่อสภาฯ ในการกราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ต่อไป
ปัญหาที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลต้องอาวุธปืนนั้น รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ดำเนินการสอบสวนแต่ก็ไม่สามารถสรุปถึงสาเหตุของปัญหานั้นได้ เมื่อรัฐบาลไม่สามารถอธิบายสาเหตุที่แท้จริงได้ ประกอบกับประชาชนและพรรคฝ่ายค้านต่างก็พากันตำหนิรัฐบาลอย่างรุนแรง นายปรีดี พนมยงค์ จึงแสดงความรับผิดขอบโดยการกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เข้าดำรงตำแหน่งแทน เมื่อเดือน สิงหาคม 2489
การแย่งชิงอำนาจระหว่างนักการเมือง และระหว่างทหารบกกับทหารเรือ
การเมืองไทยเริ่มประสบความยุ่งยากอันเนื่องมาจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัญหาเศรษฐกิจของชาติเสื่อมโทรมมาอย่างต่อเนื่อง เกิดภาวะเงินเฟ้อ สินค้าราคาแพง เครื่องอุปโภคบริโภคขาดแคลนอย่างรุนแรง โจรผู้ร้ายชุกชุม รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ นอกจากนั้นรัฐบาลยังถูกตำหนิติเตียนในเรื่องพฤติกรรมฉ้อราษฏร์บังหลวง พรรคฝ่ายค้าน คือ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ถือโอกาสเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอย่างรุนแรง
ในที่สุดฝ่ายพลเรือนซึ่งมีพลโทผิน ชุณหะวัน เป็นหัวหน้า จึงได้ก่อการรัฐประหารเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2490 คณะรัฐประหารได้มอบอำนาจให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล รัฐบาลนายควงได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ในเดือน มกราคม 2491 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมาก นายควง อภัยวงศ์จึงเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง แต่อยู่ในตำแหน่งได้ไม่นาน กลุ่มรัฐประหารชุดเดิมได้บังคับให้นายควง ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือน เมษายน 2491 จากนั้นจอมพลแปลก พิบูลสงครามก็ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
สรุปได้ว่า การเมืองไทยภายใต้การบริหารงานของนักการเมืองหลังสงครามโลกประสบกับปัญหามากมาย โดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งในหมู่นักการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการฉ้อราษฏรบังหลวง เมื่อไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ ฝ่ายทหารก็ฉวยโอกาสโดยอ้างความล้มเหลวเข้ายึดอำนาจ และในที่สุดนับจากนั้นมาการเมืองไทยก็ตกอยู่ใต้อำนาจของทหาร
ความขัดแย้งทางการเมือง (ช่วง 2491-2500) เมื่อจอมพลแปลก พิบูลสงครามได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งในปี 2491 ภายหลังจากที่ได้บีบให้นายควง ลาออกจากตำแหน่งแล้ว ความยุ่งยากทางการเมืองก็ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง นำไปสู่การกบฏของกลุ่มบุคคลที่ไม่พอใจรัฐบาล มีการแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายและตั้งตนเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ปัญหาดังกล่าวทำให้ความหวังของการพัฒนาทางด้านการเมืองการปกครองไทยเพื่อก้าวไปสู่ระบอบประชาธิปไตยต้องหยุดชะงักลง ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร แทนที่รัฐบาลจะได้ทุ่มเทความสามารถเพื่อพัฒนาประเทศ กลับใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อรักษาอำนาจของตน ความยุ่งยากทางการเมืองไทยระหว่าง ช่วง 2491-2500 สรุปเหตุการณ์ต่างๆ ได้ดังนี้
การแย่งชิงอำนาจระหว่างฝ่ายจอมพลแปลก พิบูลสงคราม กับฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งมีอดีตสมาชิกขบวนการเสรีไทยให้การสนับสนุน รัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงครามเกรงว่าฝ่ายนายปรีดีจะหาโอกาสล้มอำนาจของตน จึงมีการจับกุมบุคคลสำคัญๆ ของพรรคสหชีพซึ่งมีนายปรีดี เคยเป็นหัวหน้าพรรคนี้ บางคนก็ถูกยิงตาย นักการเมืองจำนวนมากถูกจับเข้าคุก บางส่วนต้องหนีไปต่างประเทศ (รวมทั้งนายปรีดี) หรือไม่ก็หลบหนีเข้าป่า
เกิดกบฏขึ้นหลายครั้งเพื่อต่อต้านรัฐบาลของจอมพลแปลก เช่นกบฏวังหลวง เกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2492 มีการปะทะกันบริเวณพระบรมมหาราชวังอย่างรุนแรง ผลปรากฏว่าฝ่ายกบฏเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ นอกจากนี้ก็มีกบฏแมนฮัตตัน เกิดขึ้นเมื่อ 2494 โดยกลุ่มนายทหารกลุ่มหนึ่งบุกเข้าจับกุมจอมพลแปลก ในขณะเป็นประธานพิธีรับมอบเรือขุดสันดอนชื่อ แมนฮัตตัน ซึ่งรัฐบาลอเมริกันเป็นผู้มอบให้ กลุ่มกบฏได้นำจอมพลแปลกไปขังไว้ในเรือรบชื่อ ศรีอยุธยา เพื่อต่อรองกับรัฐบาล ฝ่ายรัฐบาลไม่ฟังเสียงและลงมือปราบปรามอย่างเด็ดขาด โดยส่งเครื่องบินเข้าทิ้งระเบิดเรือศรีอยุธยาจนจมลง แต่จอมพลแปลกว่ายน้ำหนีเข้าฝั่งได้ กลุ่มกบฏไม่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพเรือส่วนใหญ่ ในไม่ช้าก็ถูกรัฐบาลปราบจนราบคาบ หลังจากการปราบกบฏรัฐบาลได้ใช้นโยบายตัดทอนกำลังและอาวุธของกองทัพเรือ จนทำให้กองทัพเรือลดกำลังและความสามารถลงไปเป็นอันมาก แต่ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่งเมื่อสิ้นสมัยจอมพลแปลกไปแล้ว
มีการแก้ไขปรับปรุงและประกาศใช้รัฐธรรมนูญหลายฉบับ แต่สาระของรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่มุ่งรักษาอำนาจของคณะรัฐประหารหรือผู้ที่กุมอำนาจทางการเมืองมิได้มุ่งเพื่อสร้างสรรค์ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
การใช้กำลังตำรวจเพื่อรักษาอำนาจของตนไว้อย่างมั่นคง โดยการเสริมสร้างกรมตำรวจทางด้านอาวุธยุทโธปกรณ์เช่นเดียวกับทหาร และเพิ่มกำลังพลจนเทียบเท่ากองพล นอกจากนั้นยังใช้ตำรวจเป็นเครื่องมือในการปราบปรามฝ่ายตรงข้าม ทำให้ประชาชนในสมัยนั้นหวาดกลัวตำรวจไปทั่วบ้านทั่วเมือง
บุคคลใดที่คัดค้านรัฐบาลมักจะถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และถูกจับกุมคุมขังโดยไม่มีการไต่สวนฟ้องร้อง
ผู้นำประเทศพยายามสร้างดุลอำนาจระหว่างกรมตำรวจกับกองทัพบกเพื่อรักษาอำนาจของตน ดังเช่นจอมพลแปลก นายกรัฐมนตรี สนับสนุนให้ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ สร้างกรมตำรวจจนเป็นกองทัพที่ใหญ่โนเพื่อรักษาอำนาจดังกล่าว ในขณะเดียวกันก็สนับสนุนกลุ่มนายทหารภายใต้การนำของ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์(ยศในขณะนั้น) ไว้คอยถ่วงดุลอำนาจกับกรมตำรวจ
การก้าวขึ้นสู้อำนาจของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
การรัฐประหาร พ.ศ.2500 สาเหตุก็เนื่องมาจากว่ากลุ่มของ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ กับกลุ่มของ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ต่อมาคือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์) ขัดแย้งกันเรื่อยมาด้วยเรื่องการเมืองและเรื่องของผลประโยชน์หลายเรื่อง ความขัดแย้งได้เพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จอมพลแปลกได้พยายามเกลี้ยกล่อมให้ทั้งสองฝ่ายประนีประนอมกันแต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2500 รัฐบาลได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ผลปรากฏว่าพรรคเสรีมนังคศิลา ซึ่งเป็นของฝ่ายรับบาลได้โกงการเลือกตั้งครั้งใหญ่ทั่วประเทศ ประชาชน นิสิต นักศึกษาในกรุงเทพฯ จำนวนมากมายซึ่งไม่พอใจในการบริหารงานของรัฐบาลอยู่แล้ว ได้พากันเดินขบวนประท้วงและขับไล่รัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ออกมาพบประชาชนเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ และให้ความหวังแก่ประชาชนในทางที่ดี ฝูงชนจึงสลายตัวไป จอมพลสฤษดิ์ก็ได้รับความนิยมจากประชาชนเพิ่มขึ้นตั้งแต่นั้นมา
ในที่สุดฝ่ายทหารภายใต้การนำของจอมพลสฤษดิ์ ก็ได้ยื่นคำขาดต่อ จอมพลแปลก นายกรัฐมนตรี ให้แก้ไขสถานการณ์ทางการเมืองโดยด่วน เมื่อไม่ได้ผลฝ่ายทหารจึงถอนตัวออกจากการสนับสนุนรัฐบาล ในไม่ช้าจอมพลสฤษดิ์ ก็ได้เป็นผู้นำทำการรัฐประหาร ในปี พ.ศ.2500 นั้นเอง จอมพลแปลกต้องพลบหนีออกนอกประเทศ และพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ก็ถูกคณะรัฐประหารบังคับให้ออกนอกประเทศ
หลังจากทำการรัฐประหารได้สำเร็จ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่และมอบให้นายพจน์ สารสินเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล ต่อมารัฐบาลได้จัดให้มีการเลือกตั้งกันอีกครั้งหนึ่ง การเลือกตั้งในครั้งนี้มีพรรคสหภูมิซึ่งเป็นพรรคที่จอมพลสฤษดิ์ สนับสนุนได้ลงสมัครรับเลือกตั้งด้วยผลของการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคสหภูมิได้รับการเลือกตั้งเป็นเสียงข้างมาก รองลงไปคือ พรรคประชาธิปัตย์
พลโทถนอม กิตติขจร (ยศในขณะนั้น) ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบแทนนายพจน์ สารสิน การบริหารประเทศของรัฐบาลพลโทถนอม ประสบปัญหายุ่งยาก และวุ่นวาย เนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรฝ่ายรัฐบาลเรียกร้องผลประโยชน์และตำแหน่งต่างๆ ในทางการเมือง นอกจากนั้นยังมีปัญหาเรื่องการทุจริตฉ้อราษฏร์บังหลวงอีกด้วย ปัญหาความวุ่นวายเพิ่มขึ้นจน พลโทถนอม ไม่อาจแก้ไขปัญหาได้ ในวันที่ 20 ตุลาคม 2501 จอมพลสฤษดิ์ ได้เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารยึดอำนาจอีกครั้งหนึ่ง โดยมีพลโทถนอม เข้าร่วมด้วย เมื่อยึดอำนาจได้สำเร็จแล้ว จอมพลสฤษดิ์ก็ประกาศล้มเลิกรัฐธรรมนูญ และแต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อทำหน้าที่นิติบัญญัติ และร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ ครั้งนี้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จัดตั้งคณะรัฐบาลบริหารประเทศจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในปี 2506

การเมืองการปกครองไทยช่วง พ.ศ.2501-ปัจจุบัน

เหตุการณ์ที่สำคัญและน่าสนใจในช่วงนี้สรุปได้ดังนี้
การปกครองแบบเผด็จการแต่มุ่งพัฒนาประเทศของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
สมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (พ.ศ. 2501-2506) การปกครองของไทยไม่มีรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน มีแต่รัฐธรรมนูญการปกครองกำหนดขอบเขตการบริหารประเทศอย่างกว้างๆ ไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนทำหน้าที่นิติบัญญัติหรือคอยควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ได้รวบอำนาจการปกครองทั้งหมดมาไว้ที่ตนคนเดียว จอมพลสฤษดิ์จึงสามารถสั่งการใดๆ ออกกฏหมายใดๆ รวมไปถึงการใช้อำนาจตามมาตรา 17 ของรัฐธรรมนูญการปกครอง สั่งประหารชีวิตหรือจำคุกผู้ต้องสงสัยบ่อนทำลายความมั่นคงของประเทศได้โดยไม่ต้องผ่านการฟ้องร้องต่อศาล
จอมพลสฤษดิ์มีความตั้งใจที่จะบริหารประเทศให้เกิดความสงบสุขและความเจริญก้าวหน้าจึงใช้อำนาจเด็ดขาดดำเนินการแก้ไขปัญหาของประเทศจนได้รับความสำเร็จหลายประการ เช่น ปราบปรามอันธพาลที่ก่อกวนทำลายความสงบสุขของประชาชน ปราบปรามคอมมิวนิสต์อย่างเด็ดขาด แต่ก็มีผลเสียคือ ผู้บริสุทธิ์หลายคนซึ่งคัดค้านวิธีการปกครองของจอมพลสฤษดิ์ต้องถูกจำคุกโดยไม่มีการไต่สวนความผิด แต่ถูกตั้งข้อหาคอมมิวนิสต์หรือข้อหาอันธพาล บางส่วนก็หลบหนีเข้าป่าเพื่อซ่องสุมกำลังต่อต้านรัฐบาลต่อไป
ทางด้านการพัฒนาประเทศ จอมพลสฤษดิ์มุ่งพัฒนาทางด้านสาธารณูปโภคเป็นการใหญ่ เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนนหนทาง การชลประทาน เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการลงทุนทางด้านอุตสาหกรรม จัดตั้งมหาวิทยาลัยและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยได้รับการพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้น
แม้ว่าประเทศไทยในช่วงนี้จะมีความสงบสุขและพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าในทุกด้านก็ตาม แต่ประชาชนก็หมดสิทธิ์ที่จะวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล มีการควบคุมหนังสอืพิมพ์อย่างเด็ดขาด นักศึกษาจะจัดกิจกรรมที่กระทบกระเทือนต่อรัฐบาลมิได้ มีการประกาศใช้กฏหมายหลายฉบับเพื่อควบคุมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
จอมพลสฤษดิ์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2506 พลเอกถนอม กิตติขจร รองนายกรัฐมนตรีได้เข้ารับตำแหน่งแทน ต่อมาในปี 2511 สภาร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อย จึงได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในปี พ.ศ.2511ในเดือนกุมภาพันธ์ 2512 รัฐบาลได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั่วประเทศ ภายหลังจากการว่างเว้นการเลือกตั้งมานานหลายปี
การเลือกตั้งในครั้งนี้ พรรคสหประชาไทยของรัฐบาลได้เสียงข้างมาก จอมพลถนอม กิตติขจร จึงเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง หลังจากบริหารประเทศได้ไม่นานนัก ปัญหาต่างๆ ก็ได้ประดังเข้ามาสู่รัฐบาลจนแทบตั้งตัวไม่ติด เช่น ปัญหาที่สหรัฐอเมริกาใช้ประเทศไทยเป็นฐานทัพในการส่งเครื่องบินไปทิ้งระเบิดในอินโดจีน ปัญหาที่รัฐบาลร่วมมือ กับสหรัฐอเมริกาส่งทหารไปรบในลาวและเวียดนามโดยอ้างว่าเพื่อปราบปรามคอมมิวนิสต์นอกประเทศ นอกจากนั้นรัฐบาลยังมีนโยบายปราบปรามคอมมิวนิสต์ในประเทศอย่างรุนแรง ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยประกาศสงครามกับรัฐบาล จนเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลตามจังหวัดต่างๆ หลายแห่ง เป็นผลทำให้รัฐบาลต้องใช้เงินงบประมาณจำนวนมากในการปราบปรามคอมมิวนิสต์ แต่ยิ่งปราบปรามรุนแรงมากเท่าไหร่พรรคคอมมิวนิสต์ก็ยิ่งขยายแนวร่วมมากยิ่งขึ้น ซึ่งได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศในเวลาต่อมา
ทางด้านการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรและนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลก็ยังมีการเรียกร้องผลประโยชน์ต่างๆ ก่อให้เกิดความแตกแยก และยังมีปัญหาเรื่องการทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย
การตื่นตัวในระบอบประชาธิปไตยและบทบาทของขบวนการนิสิตนักศึกษาและปัญญาชน
ประชาชนเริ่มเบื่อหน่ายและเสื่อมความนิยมต่อรัฐบาลมากขึ้นตามลำดับ โดยกลุ่มปัญญาชน นิสิต นักศึกษา ต่างพากันไม่พอใจรัฐบาลที่ไม่ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนอย่างเต็มที่ แทนที่รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีทางการเมือง แต่จอมพลถนอม กิตติขจร กลับหันไปใช้วิธีแบบเก่า คือ ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจตัวเอง ประกาศล้มเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2511 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2541 กลับไปใช้รูปแบบการปกครองแบบเผด็จการอีก
การก่อรัฐประหารตนเองของจอมพลถนอม กิตติขจรในครั้งนี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจของกลุ่มประชาชน นิสิต นักศึกษาที่รักประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยของประเทศต้องถอยหลังอีกครั้งหนึ่ง กลุ่มปัญญาชนทั้งนิสิต นักศึกษาในกรุงเทพและต่างจังหวัดได้เริ่มรวมตัวกันเป็นองค์กรที่เข็มแข็ง โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เรียกร้องให้รัฐบาลจัดการร่างรัฐธรรมนูญให้มีลักษณะประชาธิปไตยให้เสร็จอย่างรวดเร็ว แต่รัฐบาลก็ไม่สามารถที่จะร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จอย่างรวดเร็วได้ ความไม่พอใจรัฐบาลได้สูงขึ้นเรื่อยๆ ปัญญาชนและนิสิต นักศึกษาบางกลุ่มได้แจกใบปลิวเรียกร้องให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ รัฐบาลได้สั่งตำรวจจับกุมพวกที่แจกใบปลิว 13 คนและตั้งข้อหาก่อการกบฏ การกระทำของรัฐบาลในครั้งนี้ ประชาชน นิสิต นักศึกษาทั่วประเทศต่างพากันคัดค้านรัฐบาลอย่างรุนแรง
ในวันที่ 13 ตุลาคม 2516 คลื่นประชาชน นิสิต นักศึกษาจำนวนหลายแสนคน ได้เดินขบวนประท้วงรัฐบาลครั้งใหญ่ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาสู่ลานพระบรมรูปทรงม้า รัฐบาลเริ่มหวั่นวิตกเกรงว่าเหตุการณ์จะบานปลายจึงยอมปล่อยตัวกลุ่มที่แจกใบปลิว และให้คำมั่นว่าจะร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จโดยเร็ว เหตุการณ์มีทีท่าว่าจะเรียบร้อยเพราะตกลงกันได้ แต่แล้วสถานการณ์กลับพลิกผันไปสู่ความเลวร้ายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเช้าในวันที่ 14 ตุลาคม ในขณะที่ประชาชนและนักศึกษาจะกลับบ้าน ภายหลังการสลายตัวจากการชุมนุมประท้วงรัฐบาล เกิดปะทะกันกับตำรวจ เรื่องได้ลุกลามไปจนถึงขั้นมีการส่งทหารและรถถังเข้าระงับเหตุการณ์ เกิดการปะทะระหว่างทหารกับประชาชน นิสิต นักศึกษา ซึ่งมีไม้ ก้อนหิน และอาวุธปืนเล็กๆ เป็นอาวุธ ทหารได้ใช้อาวุธปืนสงครามและแก๊สน้ำตายิงเข้าใส่กลุ่มที่ก่อการจลาจล ทำให้เกิดการบาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก
เหตุการณ์ในครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงระงับเหตุการณ์โดยทรงขอร้องให้ทุกฝ่ายยุติการต่อสู้กัน เหตุการณ์จึงได้นำไปสู่ความสงบเรียบร้อยในวันรุ่งขึ้น โดยผู้นำรัฐบาลคือ จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร ได้เดินทางไปพำนักยังต่างประเทศ
ความตื่นตัวในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
เมื่อเกิดเหตุการณ์ มหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516 ผ่านพ้นไปแล้ว รัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ได้จัดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ และพยายามบริหารประเทศในลักษณะประคับประคองมิให้เกิดความแตกแยกเกิดขึ้นในชาติ ในขณะเดียวกันนิสิต นักศึกษา มีความตื่นตัวในเรื่องประชาธิปไตยกันมาก มีการจัดกิจกรรมเผยแแพร่ประชาธิปไตยแก่ชาวชนบท เพื่อให้ชาวชนบทเข้าใจในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและรู้จักเลือกผู้แทนราษฏรที่ดีในฐานะเป็นตัวแทนของประชาชน
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ประกาศใช้ในปี 2517 นับเป็นรัฐธรรมนูญที่กำหนดรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ค่อนข้างสมบูรณ์และดีมากฉบับหนึ่ง หลังจากนั้นรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ได้จัดให้มีการเลือกตั้งในเดือนมกราคม 2518 ภายหลังการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนเสียงมากว่าทุกพรรค ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคจึงได้จัดตั้งรัฐบาล แต่เมื่อแถลงนโยบายต่อสภา ปรากฏว่าไม่ได้รับความไว้วางใจ
ในที่สุด ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคม ซึ่งมีสมาชิกในสภาเพียง 18 เสียง ได้รวบรวมพรรคเล็กๆ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลจนสำเร็จ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่การบริหารประเทศของรัฐบาลชุดใหม่ประสบอุปสรรคมากมายหลายประการ เป็นต้นว่า การประท้วงและเรียกร้องผลประโยชน์ของกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มชาวนา กลุ่มนิสิตนักศึกษา กลุ่มกรรมกร ซึ่งใช้วิธีบีบรัฐบาลด้วยการนัดหยุดงาน นอกจากนั้นยังเกิดความขัดแย้งในคณะรัฐบาลอีกด้วย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชจึงแก้ปัญหาด้วยการยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนเมษายน พ.ศ.2519
ผลการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ได้เสียงข้างมาก ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช์ จึงเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลผสมหลายพรรค แต่การบริหารประเทศเป็นไปอย่างไม่ราบรื่น เนื่องจากเกิดความขัดแย้งในระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล และเกิดปัญหากลุ่มพลังต่างๆ ประท้วงและบีบรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะกลุ่มนิสิต นักศึกษาซึ่งคัดค้านการเดินทางกลับเข้าประเทศของจอมพลถนอมและจอมพลประภาส ในขณะนั้นได้มีการจัดตั้งกลุ่มพลังบางกลุ่มเพื่อต่อต้านนิสิต นักศึกษา มีการปลุกระดมโฆษณาว่านักศึกษาเป็นพวกคอมมิวนิสต์
ความขัดแย้งระหว่างขบวนการเผด็จการกับขบวนการประชาธิปไตย
เหตุการณ์ที่นำไปสู่ความร้ายแรงและเป็นเหตุให้คนไทยต้องฆ่าฟันกันเอง ได้เริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ในขณะที่นิสิต นักศึกษาและประชาชนต่างชุมนุมคัดค้านการกลับเข้าประเทศของจอมพลถนอม และจอมพลประภาส ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่นั้น ได้มีผู้สั่งการไม่ทราบว่าเป็นใครให้ตรำวจและประชาชนผู้ถืออาวุธกลุ่มหนึ่งบุกเข้าโจมตีและฆ่าฟันผู้ที่อยู่ในที่ชุมนุมจนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกันกลุ่มที่มีแนวความคิดต่อค้านคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรงได้ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก ในวันเดียวกัน เวลาประมาณ 18.00 น. พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ร่วมด้วยผู้นำทุกเหล่าทัพได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศ โดยเรียกคณะผู้ก่อการว่า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
หลังจากนั้น นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาลชุดนี้ได้ดำเนินนโยบายเข้มงวด ควบคุมความคิดเสรีนิยม เกิดปัญหาขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้าน มีการนำรูปแบบเผด็จการมาใช้อีก ทำให้นักศึกษา ปัญญาชนถูกกดดันจึงหนีเข้าป่าไปร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์มีความเข็มแข็งขึ้น และได้เปิดฉากทำสงครามกองโจรกับรัฐบาลหลายแห่งทั่วประเทศ
ทางฝ่ายทหารวิเคราะห์ว่า หากปล่อยให้รัฐบาลชุดนี้ดำเนินการบริหารประเทศต่อไปจะเกิดความเสียหายร้ายแรงต่อประเทศ จึงได้ยึดอำนาจอีกครั้งหนึ่งเมื่อ วันที่ 20 ตุลาคม 2520 เมื่อยึดอำนาจสำเร็จแล้ว พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นได้มีการร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่อีก รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประกาศใช้ในปี 2521 มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 เมษายน 2522 ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2522 พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ได้พยายามแก้ไขปัญหาความแตกแยกภายในชาติและปัญหาผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ โดยพยายามกระชับสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้าน และให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น แต่รัฐบาลก็ประสบปัญหาเรื่องน้ำมันในตลาดโลกราคาสูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันในประเทศไทยให้สูงตามไปด้วย ก่อให้กิดภาวะสินค้าราคาแพง ค่าครองชีพสูง รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ จึงลาออกจากตำแหน่ง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้บัญชาการหทหารบกได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมือง และฝ่ายทหาร ได้รับการเสนอชื่อต่อสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีในเดือน มีนาคม 2523
การฟื้นฟูประชาธิปไตยและการแก้ไขปัญหาคอมมิวนิสต์
รัฐบาลพลเอกเปรม ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายทหารและพรรคการเมืองต่างๆ จึงสามารถบริหารประเทศไปด้วยดี พลเอกเปรมดำเนินนโยบายให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น ในขณะที่การปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ รัฐบาลใช้นโยบาย "การเมืองนำหน้าการทหาร" กล่าวคื อเปลี่ยนแปลงนโยบายจากเดิมซึ่งมุ่งปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ด้วยกำลังทหารมาเป็นการมุ่งพัฒนาประชาชนในชนบทให้กินดีอยู่ดี ให้ความเป็นธรรมแก่ราษฏร เลิกใช้วิธีการที่เจ้าหน้าที่กดขี่ข่มเหงราษฏร ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้ราษฏรในชนบทหันไปร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์ และโฆษณาชักจูงให้ประชาชนร่วมมือกับรัฐบาลในการพัฒนาท้องถิ่น
ผลปรากฏว่านโยบายดังกล่าวประสบผลสำเร็จด้วยดี จำนวนผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ลดลง โดยออกมาเข้าร่วมเป็นผู้พัฒนาชาติไทย ประกอบกับรัฐบาลดำเนินนโยบายต่างประเทศด้วยการสร้างความเป็นมิตรกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศจีน ทำให้มิตรประเทศเพื่อนบ้านลดการให้ความช่วยเหลือพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก็อ่อนกำลังลงไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ไม่สามารถใช้กำลังก่อการร้ายได้อีกต่อไป
แม้ว่าการเมืองและเศรษฐกิจของไทยในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรมเป็นไปด้วยดีและก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ แต่ก็ยังเกิดความวุ่นวายทางการเมืองขึ้น 2 ครั้ง คือ การก่อกบฏของกลุ่มนายทหารยังเตอร์กเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2524 และการก่อกบฏของกลุ่มนายทหารนอกราชการ ในวันที่ 9 กันยายน 2528 กบฏทั้งสองนี้ได้ถูกปราบปรามลงอย่างราบคาบ
พลเอกเปรมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นเวลา 8 ปี ตั้งแต่ปี 2523-2531 และตั้งแต่ปี 2529 เป็นต้นมาเศรษฐกิจไทยได้เจริญก้าวหน้า นายทุนจากต่างประเทศหันมาสนใจลงทุนทำธุรกิจในประเทศไทยมากขึ้น ทำให้เงินตราจากต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศไทย ภายหลังการเลือกตั้งปี 2531 แล้ว พลเอกเปรม ได้ปฏิเสธที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีก พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติไทยจึงได้ดำรงตำแหน่งแทน
ในช่วงสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย (2531-2534) เศรษฐกิจไทยยังคงรุ่งเรืองต่อจากรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ แต่รัฐบาลก็ถูกตำหนิติเตียนในเรื่องที่รัฐมนตรีบางคนมีพฤติกรรมฉ้อราษฏร์บังหลวง และรัฐบาลยังมีปัญหาขัดแย้งกับฝ่ายทหารอีกด้วย
การรัฐประหารของสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติและการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย
รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ได้มีความขัดแย้งระหว่างทหารกับรัฐบาล อันนำไปสู่การรัฐประหาร โดยคณะนายทหารระดับสูงจากทุกเหล่าทัพ โดยมีพลเอกสุนทร คงสมพงษ์เป็นหัวหน้าได้ประกาศยึดอำนาจในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ทั้งนี้โดยอ้างเหตุผลว่ารัฐบาลปล่อยให้มีการฉ้อราษฏร์บังหลวง คณะรัฐประหารได้เรียกคณะของตนว่า "สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)" และได้มอบหมายให้นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวบริหารงานต่อไป
นอกจากนี้สภา รสช.ได้จัดตั้งสภานิติบัญญัติและร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ การร่างรัฐธรรมนูญได้แล้วเสร็จในปลายปี พ.ศ.2534 อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็มีประเด็นที่สร้างความไม่พอใจให้แก่นิสิต นักศึกษา และประชาชนเป็นอย่างมาก
ต่อมาในวันที่ 22 มีนาคม 2535 ได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป พรรคที่ได้รับเสียงข้างมากได้เป็นแกนกลางในการจัดตั้งรัฐบาล และได้มอบหมายให้พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้นและเป็นผู้หนึ่งที่อยู่ในสภา รสช. เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจให้แก่นิสิต นักศึกษา และประชาชนเป็นอย่างมาก ทำให้มีการเดินขบวนประท้วงคัดค้าน อันนำไปสู่เหตุการณ์ร้ายแรงในระหว่างวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2535 ซึ่งนับว่าเป็นวันมหาวิปโยคของชาวไทยอีกครั้งหนึ่ง
เหตุการณ์ในครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงขอร้องให้ทุกฝ่ายยุติความขัดแย้งและหันหน้ามาเจรจากันอย่างสันติ ในที่สุดเหตุการณ์ก็ได้สงบลง ทั้งนี้ก็เป็นเพราะพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระองค์ท่านหลังจากนั้น พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฏรได้เสนอชื่อ นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และต่อมาได้มีการประกาศยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 13 กันยายน 2535 ผลของการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งมากกว่าทุกพรรค จึงได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยมีนายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคเป็นนายกรัฐมนตรี คณะรัฐบาลนายชวน ได้บริหารประเทศมาได้ 2 ปี เกิดกรณีการจัดสรรที่ทำกินให้แก่ราษฏร และการถอนตัวของพรรคร่วมรัฐบาล ทำให้ต้องประกาศยุบสภา และได้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 กรกฏาคม 2538 ปรากฏว่านายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่เมื่อบริหารประเทศได้ระยะหนึ่งก็ต้องประสบกับปัญหาการขัดแย้งของพรรคร่วมรัฐบาล และการลาออกของคณะรัฐมนตรีจึงได้ประกาศยุบสภา และได้มีการเลือกตั้งในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 ผลการเลือกตั้งพรรคความหวังใหม่ได้คะแนนเสียงข้างมาก พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคจึงได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่การบริหารประเทศของพลเอกชวลิต ได้ประสบกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก จึงประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 ส่งผลให้นายชวน หลีกภัยผู้นำพรรคฝ่ายค้าน ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 - ปัจจุบัน หลังจากที่พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งทั่วไปอย่างท่วมท้น เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2544















































































วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วัดยางทอง


โครงงานวิชา ส32103 โครงงานประวัติศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2553

ชื่อโครงงาน สงขลาแต่แรก (Befor Songhlak)

รายชื่อผู้เสนอโครงงาน

นางสาวทิพย์วิมล พึ่งบุญ เลขที่20

างสาววรรณดี ล่องแดง เลขที่ 22

นางสาวอภิชญา จันทระ เลขที่ 23

นางสาวเจนจิรา คังฆะสุวรรณ เลขที่ 25

นางสาวรัชชนก คำทอง เลขที่ 35

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
อาจารย์การุณย์ สุวรรณรักษา
ตำแหน่ง ครูประจำวิชากลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา



ชื่อโครงงาน : สงขลาแต่แรก (Befor Songhlak)

หลักการและเหตุผล : เนื่องจากปัจจุบันประชาชนที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยในจังหวัดสงขลาส่วนใหญ่ไม่รู้ถึงประวัติความเป็นมาของถิ่นกำเนิดของบรรพบุรุษของตนทางคณะผู้จัดทำจึงรวบรวมและเผยแผ่ประวัติความเป็นมาของตำบลบ่อยางให้ประชาชนได้รู้และเข้าใจมากยิ่งขึ้นแล้วยังสามารถนำไปบอกเล่าให้ลูกหลานได้ในอนาคต


วัตถุประสงค์ของโครงงาน :

1.เพื่อเผยแผ่ประวัติความเป็นมาของตำบลบ่อยาง

2.เพื่อให้ได้ความรู้ที่สามารถพิสูจน์ได้จริง

3.เพื่อให้รู้ที่มาของบรรพบุรุษ



ขั้นตอนและวิธีการจัดทำ

1. นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนโครงร่างของโครงงาน
2. เสนอโครงร่างให้ครูผู้สอนอนุมัติ
3. เมื่อครูผู้สอนอนุมัติโครงร่างโครงงานแล้ว ให้นักเรียนเริ่มดำเนินการจัดทำ โดยทำการศึกษารวบรวม
4. ไปศึกษาสถานที่จริง
5.แต่ละกลุ่มนำเสนอและแสดงโครงงานข้อมูลเก็บไว้ในBlogหรือรายงาน


ผลการศึกษา

วัดยางทอง วัดยางทอง ตั้งอยู่บ้านคลองทราย เลขที่ ๔๕ หมู่ที่ ๒ ตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๑๐ ไร่ ๒ งาน ๙๑ ตารางวา น.ส. ๓ เลขที่ ๒๑๗๘๔ อาณาเขต ทิศเหนือยาว ๔ เส้น ติดต่อกับถนนสาธารณประโยชน์ ทิศใต้ยาว ๔ เส้น ติดต่อกับโรงเรียนวัดยางทอง ทิศตะวันตกยาว ๓ เส้นติดต่อกับที่สวนนางสรวง ชูโนราห์ ทิศตะวันออกยาว ๓ เส้น ติดต่อถนน ทางหลวงชนบท มีที่ธรณีสงฆ์ ๓ แปลง เนื้อที่ ๒๑ ไร่ น.ส. ๓ เลขที่ ๑๕๕๘๕, ๑๕๖๑๖, ๑๗๕๑๑, พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม อาคาร เสนาสนะ ต่างๆ มีอุโบสว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๔ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๔๗๔ โครงสร้าง คอนกรีต ศาลาการเปรียญกว้าง ๒๔ เมตร ยาว ๓๒ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๐๖(บูรณะพ.ศ.๒๕๔๘)โครงสร้างคอนกรีต กุฏิสงฆ์จำนวน ๘ หลัง โครงสร้างเป็นไม้และคอนกรีต นอกจากนี้ยังมีหอฉันท ์โรงครัวศาลาบำเพ็ญกุศล และเมรุเผาศพ สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถสร้าง พ.ศ. ๒๔๗๓ และเจดีย์ของเก่า วัดยางทอง สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๐ เดิมชาวบ้านเรียกว่า “วัดบ้านคลองทราย” ตามชื่อบ้าน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๔ เมตร ได้ผูกพัทธสีมาวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ การศึกษาทางวัดได้เปิดให้มีการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมตลอดมา ในปี พ.ศ.๒๕๐๑ได้ขอตั้งเป็นสำนักศานศึกษาขึ้น นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งโรงเรียนประถมศึกษาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ เจ้าอาวาสมี ๗ รูป คือ รูปที่ ๑ หลวงพ่อหวาน พ.ศ. ๒๔๓๔-๒๔๕๒
รูปที่ ๒ หลวงพ่อคง พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๕๕ รูปที่ ๓ หลวงพ่ออั้น พ.ศ. ๒๔๕๕-๒๔๕๗ รูปที่ ๔ หลวงพ่อทุ่ม พ.ศ. ๒๔๕๗-๒๔๗๖ รูปที่ ๕ พระครูวิจิตรศาสนคุณ พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๕๒๓ รูปที่ ๖ พระใบฎีกาจรินทร์ พ.ศ. ๒๕๒๔-๒๕๒๕ รูปที่ ๗ พระครูสุวรรณธรรมนาถ พ.ศ. ๒๕๒๖ – ๒๕๔๘ รูปที่ ๘ พระครูบัณฑิตธรรมาลังการ พ.ศ. ๒๕๔๘ - ปัจจุบัน วัดยางทองปัจจุบัน มีพระภิกษุจำพรรษา ๑๗ รูป สามเณร ๓ รูป ชี ๑ รูป ศิษย์วัด ๒ คน
อ้างอิง แผ่นพับของวัดยางทอง
www.watyangtong.com

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วิธีการทางประวัติศาสตร์












































ความหมายของวิธีการทางประวัติศาสตร์











ในการสืบค้น ค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีอยู่หลายวิธี เช่น จากหลักฐานทางวัตถุที่ขุดค้นพบ หลักฐานที่เป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษร หลักฐานจากคำบอกเล่า ซึ่งการรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์





ความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์สำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์นั้น มีปัญหาที่สำคัญอยู่ประการหนึ่ง คือ อดีตที่มีการฟื้นหรือจำลองขึ้นมาใหม่นั้น มีความถูกต้องสมบูรณ์และเชื่อถือได้เพียงใดรวมทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่นำมาใช้เป็นข้อมูลนั้น มีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มีอยู่มากมายเกินกว่าที่จะศึกษาหรือจดจำได้หมด แต่หลักฐานที่ใช้เป็นข้อมูลอาจมีเพียงบางส่วน ดังนั้น วิธีการทางประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ หรือผู้ฝึกฝนทางประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ





ขั้นตอนทางประวัติศาสตร์




ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร












ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล
ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ) การรวบรวมข้อมูลนั้น หลักฐานชั้นต้นมีความสำคัญ และความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายกว่าหลักฐานชั้นรองในการรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆดังกล่าวข้างต้น ควรเริ่มต้นจากหลักฐานชั้นรองแล้วจึงศึกษาหลักฐานชั้นต้น ถ้าเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ควรเริ่มต้นจากผลการศึกษาของนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ก่อนไปศึกษาจากของจริงหรือสถานที่จริงการศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีควรใช้ข้อมูลหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าผู้ศึกษาต้องการศึกษาเรื่องอะไร ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลที่ดีจะต้องจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ ทั้งข้อมูลและแหล่งข้อมูลให้สมบูรณ์และถูกต้อง เพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ









ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐานวิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอกการวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด แต่เป็นเพียงการประเมินตัวหลักฐาน มิได้มุ่งที่ข้อมูลในหลักฐาน ดังนั้นขั้นตอนนี้เป็นการสกัดหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปการวิพากษ์ข้อมูลหรือวิพากษ์ภายในการวิพากษ์ข้อมูล (internal criticism) คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมายที่แสดงออกในหลักฐาน เพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือเพียงใด โดยเน้นถึงความถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการประเมินหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อมูลในเอกสารมีทั้งที่คลาดเคลื่อน และมีอคติของผู้บันทึกแฝงอยู่ หากนักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลผลที่ออกมาอาจจะผิดพลาดจากความเป็นจริง







ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน
ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐกรรมต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่งอาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตามในการตีความหลักฐาน นักประวัติศาสตร์จึงต้องพยายามจับความหมายจากสำนวนโวหาร ทัศนคติ ความเชื่อ ฯลฯ ของผู้เขียนและสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย เพื่อทีจะได้ทราบว่าถ้อยความนั้นนอกจากจะหมายความตามตัวอักษรแล้ว ยังมีความหมายที่แท้จริงอะไรแฝงอยู่








ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้นในขั้นตอนนี้ ผู้ศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตีความมาวิเคราะห์ หรือแยกแยะเพื่อจัดแยกประเภทของเรื่อง โดยเรื่องเดียวกันควรจัดไว้ด้วยกัน รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน เรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงนำเรื่องทั้งหมดมาสังเคราะห์หรือรวมเข้าด้วยกัน คือ เป็นการจำลองภาพบุคคลหรือเหตุการณ์ในอดีตขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง โดยอธิบายถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผล ทั้งนี้ผู้ศึกษาอาจนำเสนอเป็นเหตุการณ์พื้นฐาน หรือเป็นเหตุการณ์เชิงวิเคราะห์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา